โดยปกติแล้วเราสามารถคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) บน Hyper-V ได้ทั้งการใช้ Hyper-V Manager ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบกราฟิก (อ่านวิธีใช้ที่นี่) และ PowerShell ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบบรรทัดคำสั่ง ซึ่งบทความนี้ผมมีวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนใหม่บน Hyper-V ด้วย PowerShell มาฝากเพื่อให้ท่านที่สนใจใช้เป็นแนวทางในการจัดการ Hyper-V (โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งาน Hyper-V บน Server Core) ครับ
ข้อมูลระบบที่ใช้อ้างอิง
เซิร์ฟเวอร์ Hyper-V ที่ผมใช้อ้างอิงในบทความนี้เป็น Windows Server 2012 R2 ส่วน PowerShell เป็นเวอร์ชัน 4.0
ขั้นตอนการทำงาน
บทความนี้ ผมจะแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอนย่อยดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1: สร้างคอมพิวเตอร์เสมือน
ขั้นตอนที่ 2: เชื่อมต่อไฟล์ ISO Image กับไดรฟ์ดีวีดี
ขั้นตอนที่ 3: สร้างและเชื่อมต่อ Virtual NIC กับคอมพิวเตอร์เสมือน
ขั้นตอนที่ 4: ติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์บนคอมพิวเตอร์เสมือน
ขั้นตอนที่ 1: สร้างคอมพิวเตอร์เสมือนใหม่
การสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนด้วย PowerShell นั้นทำได้โดยการใช้ cmdlet ชื่อ New-VM ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1: การสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนชื่อ Test VM กำหนดหน่วยความจำเริ่มต้น 1GB ต่อกับฮาร์ดดิสก์เสมือนที่สร้างขึ้นใหม่ชื่อ vmdisk1.vhdx กำหนดขนาด 60GB โดยขนาดจะเพิ่มขึ้นแบบไดนามิค จะใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
New-VM –Name “Test VM” –MemoryStartupBytes 1GB –NewVHDPath D:\VMVHD\WIN10\vmdisk1.vhdx -NewVHDSizeBytes 60GB
รูปที่ 1
ตัวอย่างที่ 2: การสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนชื่อ Test Server กำหนดหน่วยความจำเริ่มต้น 1GB ต่อกับฮาร์ดดิสก์เสมือนที่มีอยู่แล้วชื่อ vmdisk2.vhdx จะใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
New-VM –Name “Test Server” -MemoryStartupBytes 1GB –VHDPath D:\VMVHD\WIN10\vmdisk2.vhdx
รูปที่ 2
ขั้นตอนที่ 2: เชื่อมต่อไฟล์ ISO Image กับไดรฟ์ดีวีดีเสมือน
หลังจากทำการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนเสร็จแล้ว แต่ก่อนที่คุณจะสามารถทำการบูตคอมพิวเตอร์เสมือนด้วยไฟล์ไอเอสโออิมเมจเพื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์ (ตัวอย่างเช่น Windows 10 Technical Preview) คุณจะต้องทำการต่อไฟล์ไอเอสโออิมเมจกับไดรฟ์ดีวีดีเสมือนโดยการใช้ cmdlet ชื่อ Set-VMDvdDrive ก่อนตามตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่างที่ 3: ทำการต่อไฟล์ไอเอสโออิมเมจ Windows10_TechnicalPreview.iso กับไดรฟ์ดีวีดีเสมือนจะใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
Set-VMDvdDrive -VMName “Test VM” –Path ‘D:\ISO\Windows 10 Technical Preview\Windows10_TechnicalPreview.iso’
ขั้นตอนที่ 3: สร้าง Virtual NIC
ถ้าคุณไม่ได้วางแผนที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เสมือนกับระบบเครือข่ายคุณสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปไดเลยครับ
ก่อนที่คุณจะสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์เสมือนบนระบบเครือข่ายได้คุณจะต้องทำการสร้างการ์ดเครือข่ายเสมือนและทำการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เสมือนก่อน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้
cmdlet ชื่อ New-VMSwitch และ Connect-VMNetworkAdapter ตามตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่างที่ 4: ทำการสร้างการ์ดเครือข่ายเสมือนชื่อ vNIC1-55 และต่อเข้ากับอะแดปเตอร์ชื่อ Ethernet 4 – vNIC จะใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
New-VMSwitch –Name “vNIC1-55” –NetAdapterName “Ethernet 4 – vNIC4”
จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เสมือนชื่อ Test VM เข้ากับการ์ดเครือข่ายเสมือน vNIC1-55
จะใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
Connect-VMNetworkAdapter -VMName “Test VM” -SwitchName “vNIC1-55”
หมายเหตุ: กรณียังไม่ทราบชื่ออะแดปเตอร์ที่ต้องการให้ทำการแสดงรายชื่ออะแดปเตอร์เครือข่ายทั้งหมดบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยใช้คำสั่ง Get-NetAdapter
ขั้นตอนที่ 4: ติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์บนคอมพิวเตอร์เสมือน
หลังจากทำขั้นตอนที่ 1-3 เสร็จแล้ว คุณก็พร้อมสำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์บนคอมพิวเตอร์เสมือนแล้ว ซึ่งทำได้ง่ายๆ โดยการใช้ cmdlet ชื่อ Start-VM ตามตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่างที่ 5: ทำการเปิดคอมพิวเตอร์เสมือนชื่อ Test VM เพื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์ จะใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
Start-VM –Name “Test VM”
หลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการเกสต์ ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องใช้ Hyper-V Manager ในการติดตั้ง สำหรับวิธีการติดตั้งนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ สามารถดูตัวอย่างได้จาก การติดตั้ง Windows 10 Technical Preview
การแสดงรายชื่อคอมพิวเตอร์เสมือน
สำหรับการแสดงรายชื่อคอมพิวเตอร์เสมือนที่อยู่บนระบบ Hyper-V ทั้งหมดด้วย PowerShell ทำได้โดยการใช้ cmdlet ชื่อ Get-VM
รูปที่ 3
การสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนใหม่บน Hyper-V ด้วย PowerShell นั้นจะทำได้ยากกว่าการใช้ Hyper-V Manager โดยเฉพาะกับผู้ดูแลระบบไม่คุ้นเคยกับ PowerShell (ซึ่งในจำนวนนั้นรวมถึงผมอยู่ด้วย) แต่เมื่อศึกษาจนคุ้นเคยและฝึกฝนบ่อยๆ จนเกิดทักษะและความชำนาญแล้ว จะช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็วขึ้นไม่ว่าคุณจะใช้งาน Hyper-V บน Windows Server ที่ติดตั้งแบบ Server with a GUI หรือ Server Core
สำหรับใครที่ทำแล้วเกิดปัญหาหรืออุปสรรคในขั้นตอนใด แนะนำให้คุณทำการตรวจสอบว่าได้ทำตามขั้นตอนอย่างสมบูรณ์หรือไม่ และหากติดขัดอยางไรฝากความคิดเห็นไว้ได้ครับ
วิธีการเปิด PowerShell
การเปิด PowerShell บน Windows Server 2012 R2 ซึ่งติดตั้งแบบ Server with a GUI นั้นทำได้โดยการคลิกไอคอน PowerShell บนแถบงาน ส่วนบนเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งแบบ Server Core นั้นทำได้โดยการรันคำสั่ง powershell ที่พร้อมท์คำสั่ง ทั้ง 2 วิธี Windows จะทำการเปิด PowerShell ด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบโดยอัตโนมัติ (กรณีการเปิด PowerShell บน Windows เวอร์ชันเดสก์ท็อปจะต้องเปิดแบบ Run as Administrator)
ข้อมูลอ้างอิง
https://technet.microsoft.com/en-us/library/hh848559.aspx
http://windowsitpro.com/hyper-v/manage-hyperv-powershell
http://www.tomsitpro.com/articles/hyper-v-powershell-cmdlets,2-779.html
http://blogs.technet.com/b/heyscriptingguy/archive/2013/06/14/create-a-new-virtual-machine-with-windows-powershell-part-1.aspx