ไมโครซอฟท์ปรับ Windows 10 Version 1607 หรือ (Anniversary Update) เป็นรีลีส Current Branch for Business (CBB) แล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งการปรับระดับเป็น CBB นั้นหมายความว่า Windows 10 Version 1607 พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานในภาคธุรกิจแล้ว
ไมโครซอฟท์ปรับ Windows 10 Version 1607 เป็น Current Branch for Business (CBB)
สำหรับหมายเลขเวอร์ชันของ Windows 10 ที่ออกเป็น CBB คือ Windows 10 Version 1607 อัพเดตเป็น Windows 10 Version 1607 (Build 14393.447) และไมโครซอฟท์อ้างว่ามีอุปกรณ์ต่างๆ ที่รันด้วยเวอร์ชันนี้มากกว่า 100 ล้านตัวแล้ว โดยก่อนออกเวอร์ชัน CBB นั้นไมโครซอฟท์ได้รับข้อมูลป้อนกลับประมาณ 1,000 รายการจากพันธมิตร ISV ลูกค้ากลุ่มต่างๆ ซึ่งรวมบริษัทในโปรแกรมนำร่องการปรับใช้ Windows 10
การปรับเป็น CBB เป็นหลักไมล์สำคัญของ Windows 10 Version 1607 เนื่องจากเป็นการแสดงว่ามันได้ผ่านมาตรฐานคุณภาพตามที่ไมโครซอฟท์กำหนด ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจและเป็นการรับประกันแก่ลูกค้าว่า Windows 10 Version 1607 พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานในภาคธุรกิจแล้ว
วิธีอัพเกรด Windows 10 Version 1607
ทั้งนี้ บริษัทสามารถทำการประเมินเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองว่าพร้อมสำหรับอัพเกรดเป็น Windows 10 Version 1607 ได้ที่เว็บไซต์ Windows Upgrade Analytics Service
Current Branch และ Current Branch for Business
Branch เป็นโมเดลการอัพเดตแบบใหม่ซึ่งไมโครซอฟท์นำมาใช้ในการอัปเกรดความสามารถ Windows 10 โดยแบ่งเป็น CB และ CBB
Current Branch (CB)
CB เป็นโมเดลการอัพเดทความสามารถ (Feature Update) ที่จะได้รับการปรับปรุงในทันทีที่ไมโครซอฟท์ออกอย่างเป็นทางการ (GA) เมื่อไมโครซอฟท์ออกการปรับปรุงความสามารถใหม่ Windows 10 อย่างเป็นทางการ เช่น Version 1607 มันจะได้รับการจัดให้เป็น CB รีลีส และพร้อมสำหรับการติดตั้งบน Windows 10 ที่ไม่มีการคอนฟิก Defer Upgrade ในทันที
CB เป็นโมเดลการอัพเดต Windows 10 ที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป หรือหรือนักพัฒนาที่ต้องการทดสอบการใช้งานคณสมบัติการทำงานใหม่ๆ
Current Branch for Business (CBB)
CBB เป็นโมเดลการอัพเกรดความสามารถที่จะทำการปรับปรุงความสามารถใหม่หลัง CB ผ่านการทดสอบจากไมโครซอฟท์ พันธมิตร ISV และลูกค้าโครงการนำร่องการปรับใช้งาน Windows 10 จนเป็นที่มั่นใจแล้วว่าสามารถนำไปใช้งานในภาคธุรกิจได้โดยไม่มีประเด็นปัญหาใดๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไมโครซอฟท์จะออก CBB รีลีสหลังจากออก CB ประมาณ 4 เดือน
CBB เป็นโมเดลการอัพเดต Windows 10 ที่เหมาะสำหรับบริษัทที่ต้องการรอให้แน่ใจว่า Windows 10 เวอร์ชันใหม่สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาจึงจะนำมาใช้งาน
โดยพื้นฐานแล้ว CB และ CBB เป็นเพียงสถานะการตั้งค่า Windows Update ที่กำหนดว่าจะทำการอัพเกรดความสามารถใหม่ในทันทีหรือว่ารอจนเป็นที่แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาแล้วค่อยทำการอัพเกรด
Long-term Servicing Branch (LTSB)
นอกจาก CB และ CBB แล้วยังมี LTSB ซึ่งเป็น Windows 10 รุ่นพิเศษที่ใช้กับอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็น Mission Critical เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบ POS เครื่อง ATM ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์เหล่านี้จะทำงานสำคัญเฉพาะทางและไม่ต้องการอัพเกรดความสามารถใหม่บ่อยๆ โดย Windows 10 LTSB จะป้องกันอุปกรณ์ไม่ให้ทำการอัพเกรดความสามารถใหม่แต่จะรับเฉพาะการอัพเกรดด้านคุณภาพ (Quality Update) เพื่อให้แน่ใจว่าอุกรณืมีความมั่นคงปลอดภัย อย่างไรก็ตาม Windows 10 LTSB จะการอัพเดทคุณภาพในทันทีที่ออก แต่สามารถเลื่อนได้ผ่านทาง Defer Update ใน Windows Update เช่นเดียวกัน
Quality Update และ Feature Update
ไมโครซอฟท์แบ่งการอัพเดต Windows 10 ออกเป็น 2 ประเภท คือ Quality Update และ Feature Update
Quality Update เป็นการอัพเดทคุณภาพซึ่งครอบคลุมถึงการปรับปรุงความน่าเชื่อถือ ปรับปรุงความเสถียร ปรับปรุงความปลอดภัย และ ฯลฯ ปกติแล้วไมโครซอฟท์จะออกการปรับปรุงคุณภาพเดือนละหนึ่งครั้งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Patch Tuesday หรือ Microsoft Security Update โดยหลังการปรับปรุงด้านคุณภาพเวอร์ชันหลักจะไม่เปลี่ยนแต่เปลี่ยนเวอร์ชันย่อย เช่น Windows 10 Version 1607 Build 14393.447 เป็นต้น
Feature Update เป็นการอัพเดทความสามารถการทำงาน ซึ่งครอบคลุมถึงการเพิ่มความสามารถ การปรับปรุง UI ซึ่งไมโครซอฟท์จะออกการปรับปรุงคุณภาพ 1-2 ครั้งต่อปี โดยหลังการปรับปรุงด้านคุณภาพเวอร์ชันหลักจะเปลี่ยนแปงไป เช่น Windows 10 Version 1511 เป็น Version 1607 เป็นต้น
สรุป
สรุปว่า Branch เป็นตัวควบคุมการอัพเดทความสามารถ Windows 10 โดย CBB กับ CBB จะมีหมายเลขเวอร์ชันและหมายเลขบิลด์เดียวกัน แตกต่างกันที่ CB จะได้รับการอัพเดตความสามารถใหม่ก่อน CBB
Windows 10 ที่ติดตั้งแบบดีฟอลท์ คือใช้ค่าที่ระบบกำหนดให้และไม่ได้ทำการปรับแต่งการตั้งค่า Windows Update จะอยู่ในโมเดลการอัพเดตความสามารถแบบ CB และจะได้รับการอัพเกรดความสามารถใหม่ในทันที (ทางปฏิบัติอาจได้รับภายใน 1-2 สัปดาห์) ที่ไมโครซอฟท์ออกอย่างเป็นทางการ
สำหรับผู้ใช้ Windows 10 ที่ไม่ต้องการอัพเกรดความสามารถใหม่ในทันทีที่ไมโครซอฟท์ออกอย่างเป็นทางการ สามารถปรับโมเดลการอัพเดตเป็น CBB ได้ผ่านทาง Defer Upgrade ใน Windows Update
คอนฟิก Windows 10 ให้อัพเกรดแบบ Current Branch for Business
หมายเหตุ: ก่อนหน้า Windows10 ไมโครซอฟท์ใช้โมเดลการอัพเดตในลักษณะของเซอร์วิสแพ็ค (Service Pack)
แหล่งอ้างอิง
Windows 10 release information
Microsoft Technet
ประวัติการปรับปรุงบทความ
28 กุมภาพันธ์ 2561: ปรับปรุงเนื้อหา
2 ธันวาคม 2559: เผยแพร่ครั้งแรก