Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
Android

พบช่องโหว่ BlueBorne บนอุปกรณ์ Bluetooth ทุกประเภท ทุกระบบ

DefiniBy DefiniSeptember 19, 2017No Comments1 Min Read

น่าตกใจทีเดียวสำหรับข่าวการค้นพบช่องโหว่ BlueBorne บนอุปกรณ์บลูทูธ (Bluetooth) เพราะตามข่าวระบุว่ามีผลกระทบกับอุปกรณ์ต่างๆ ทั้ง สมาร์ทโฟน, แลปท็อป/แท็บเล็ต, สมาร์ททีวี และ อุปกรณ์ IoT ทุกชนิดที่มี Bluetooth และทุกระบบปฏิบัติการทั้ง Android, Windows, Linux, macOS และ ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาบนพื้นฐาน Linux และที่สำคัญสามารถถูกโจมตีได้เพียงแค่เปิดบลูทูธแล้วไปอยู่ในรัศมีการรับส่งสัญญาณของอุปกรณ์ที่ใช้โจมตี

ช่องโหว่ BlueBorne กระทบอุปกรณ์ Bluetooth ทุกประเภท ทุกระบบ

BlueBorne เป็นชื่อที่ใช้เรียกช่องโหว่ที่ยังไม่มีแพตช์สำหรับแก้ไข (Zero-day vulnerability) ในโปรโตคอลบลูทูธ (โดยช่องโหว่มีทั้งหมด 8 ช่วงโหว่แต่เรียกรวมกันว่า BlueBorne – รายละเอียดเชิงเทคนิคเข้าไปอ่านได้จากเว็บไซต์ในแหล่งอ้างอิงครับ) ที่ค้นพบเมื่อต้นเดือนกันยายนโดยทีมวิจัยของบริษัท Armis ซึ่งเป็นบริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัย คาดว่ามีอุปกรณ์มากกว่า 5.3 พันล้านเครื่องที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าวนี้

ช่องโหว่ BlueBorne ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือทำการติดตั้งมัลแวร์ลงบนอุปกรณ์ใดๆ ที่เปิดใช้งานบลูทูธ ที่อยู่ในรัศมีการรับส่งสัญญาณของอุปกรณ์ที่ใช้โจมตี (ประมาณ 10 เมตร) โดยที่ไม่จำเป็นต้องจับคู่ (Paired) กับอุปกรณ์ที่ใช้โจมตี โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้โหมดค้นหาอุปกรณ์ (Discovery mode) แต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์หรือทำการติดตั้งมัลแวร์ลงบนอุปกรณ์ได้ในทันทีโดยเจ้าของอุปกรณ์ไม่รู้ตัว

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทีมวิจัยของบริษัท Armis จะสามารถสร้างบอทเน็ทที่สามารถทำการติดตั้งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ผ่านช่องโหว่ BlueBorne ได้ก็ตาม แต่ Ben Seri หัวหน้าทีมวิจัยของ ARMIS ระบุว่าการสร้างเวิร์มสำหรับใช้โจมตีและแพร่ระบาดผ่านช่องโหว่ BlueBorne ข้ามแพลตฟอร์มโดยอัตโนมัตินั้นทำได้ยาก

ระบบที่ได้รับผลกระทบ

ระบบปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ BlueBorne ได้แก่

  • iOS 9.3.5 หรือต่ำกว่า
  • Android 5.x (Lollipop) หรือต่ำกว่า
  • Windows ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแพตช์เดือนกรกฏาคม 2560
  • Linux ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแพตช์หลังจากวันที่ 12 กันยายน 2560
  • macOS เวอร์ชัน 10.11 หรือต่ำกว่า

ระบบที่ไม่ได้รับผลกระทบ

ระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ BlueBorne ได้แก่

  • iOS 10 หรือใหม่กว่า
  • Android 6.x (Marshmallow) หรือสูงกว่า
  • Windows ที่ทำการติดตั้งแพตช์เดือนกรกฏาคม 2560 หรือใหม่กว่า (ผู้ใช้ควรอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด)
  • Linux ผู้พัฒนาหลายรายเริ่มทยอยออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ BlueBorne โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลจาก Distributor ที่ใช้งาน และควรอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันทีที่ทำได้
  • macOS แอปเปิลแจ้งว่าระบบปฏิบัติการเวอร์ชันล่าสุดไม่ได้รับผลกระทบ (ปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน 10.12)

วิธีการป้องกันอุปกรณ์ Bluetooth จากการโจมตีผ่านช่องโหว่ BlueBorne

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันช่องโหว่ BlueBorne คือการอัปเดตอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการเป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุด แต่เนื่องจากการออกอัปเดตโดยเฉพาะระบบแอนดรอยด์นั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการอัปเดต ดังนั้น ในระหว่างที่ยังไม่มีอัปเดต ให้ทำการปิดการใช้งาน Bluetooth เมื่อไม่จำเป็น

สำหรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ ถ้าหากมีการแสดงไอคอนบลูทูธบนหน้าโฮมลักษณะดังรูปด้านล่างแสดงว่ามีการเปิดบลูทูธ

สำหรับวิธีการปิดบลูทูธบนอุปกรณ์แอนดรอยด์นั้นส่วนใหญ่ทำได้โดยปัดหน้าจอด้านบนลงด้านล่างแล้วแตะไอคอนบลูทูธให้เป็นสีเทาลักษณะดังรูปด้านล่าง

สรุป

ถึงแม้ว่า ณ วันนี้ (19 กันยายน 2560) ยังไม่มีรายงานการโจมตีผู้ใช้ผ่านช่องโหว่ดังกล่าวนี้ และยังไม่พบการเผยแพร่โค้ดสำหรับใช้ทำการโจมตี (PoC) ช่องโหว่ดังกล่าวนี้แต่อย่างใด แต่นั้นก็ไม่ได้รับประกันว่าจะไม่มีเกิดขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรตื่นตระหนกจนไม่กล้าใช้งานบลูทูธ เพียงแต่ต้องตระหนักโดยเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งาน และให้ทำการอัปเดตอุปกรณ์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดในทันทีที่ทำได้

ข้อมูลอ้างอิง
ARMIS – BlueBorne Information
The Hacker news

Android How-to Operating System
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.