Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

Controlled folder access ฟีเจอร์ใหม่ใน Windows 10 ที่ปกป้องข้อมูลจาก Ransomware

DefiniBy DefiniSeptember 20, 2017No Comments1 Min Read

เป็นทางการแล้วว่า Windows 10 Fall Creator Update จะออกให้ดาวน์โหลดหรืออัปเดตในวันที่ 17 ตุลาคม 2560 โดยจะมาพร้อมฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง รวมถึง Controlled Folder Access ซึ่งเป็นฟีเจอร์ช่วยปกป้องไฟล์สำคัญจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่หรือ Ransomware บทความนี้ผมจึงขอแนะนำวิธีการใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ให้ได้ทราบเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งานต่อไปครับ

ข้อควรทราบ: ฟีเจอร์ Controlled Folder Access มีให้ใช้บน Windows 10 Fall Creator Update ซึ่งในขณะที่เขียนเรื่องนี้ยังไม่ออกเวอร์ชันเต็ม อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ Windows 10 เวอร์ชันพรีวิวสามารถใช้งานได้ครับ

แนะนำ Controlled folder access

ฟีเจอร์ Controlled folder access เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Windows Defender ที่ช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญจากแอปประสงค์ร้ายและภัยคุกคามสมัยใหม่อย่างเช่นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) โดยมันจะทำหน้าที่มอนิเตอร์ไฟล์ที่เก็บอยู่ใน Protected folder เมื่อมีแอปที่มีรายชื่อในบัญชีดำ (Blacklisted) พยายามทำการเปลี่ยนแปลงไฟล์ มันจะทำการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบและเป็นคนเลือกว่าจะอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหรือไม่

โดยเริ่มต้น โฟลเดอร์เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ เช่น Documents, Pictures, Movies, Desktop นั้นถูกเพิ่มเป็น Protected folder โดยดีฟอลท์และไม่สามารถปิดหรือยกเลิกได้ แต่ผู้ใช้สามารถเพิ่มโฟลเดอร์อื่นเข้าใน Protected folder ได้

ทั้งนี้ แอปส่วนใหญ่ที่ผ่านการตรวจสอบจากไมโครซอฟท์จะสามารถเข้าถึงโฟลเดอร์ใน Protected folderได้ แต่ผู้ใช้ยังสามารถทำการเพิ่มแอปให้เข้าถึงข้อมูลในโฟลเดอร์ใน Protected folder ได้เองอีกด้วย

การใช้งาน Controlled folder access

เนื่องจาก Controlled folder access ไม่ได้ถูกเปิดใช้งานตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นผู้ใช้จะต้องทำการเปิดใช้งานเองโดยการเปิด Windows Defender Security Center จากเมนู Start จากนั้นเข้าไปที่หน้าตั้งค่า Virus & threat protection แล้วทำการตั้งค่า Controlled folder access เป็น On (ต้องคลิก Yes บนหน้า User Account Control)

สำหรับวิธีการเพิ่มโฟลเดอร์เข้าใน Protected folder ทำได้โดยคลิก Protected folders ที่อยูภายใต้หัวข้อ Controlled folder access (รูปด้านบน)

จากนั้นบนหน้า Protected folders ให้คลิก Add a protected folders แล้วเลือกหรือป้อนพาธเต็มของโฟลเดอร์ที่ต้องการ โดยสามารถเพิ่มได้ทั้ง การแชร์บนเครือข่าย แมปไดรฟ์ แต่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่รองรับตัวแปรสิ่งแวดล้อมและไวด์การ์ด (*)

หลังจากทำการเพิ่มโฟลเดอร์แล้วเสร็จจะได้หน้าต่างลักษณะดังรูปด้านล่าง

การลบโฟลเดอร์ออกจาก Protected folder ทำได้โดยบนหน้า Protected folders ให้คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้วคลิก Remove

สำหรับวิธีการเพิ่มแอปที่อนุญาตให้เข้าถึง Protected folder ทำได้โดยบนหน้า Control folder access ให้คลิก Allow an app through Controlled folder access บนหน้าถัดไปให้คลิก Add an allowed app แล้วทำการเลือกแอปที่ต้องการ

นี้คือวิธีการใช้งาน Controlled Folder Access ฟีเจอร์ใหม่ใน Windows 10 Fall Creator Update ที่นำมาฝากในวันนี้ครับ

ความเห็น

ด้วยจำนวนการโจมตีจาก Ransomware เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้นควรทำการปกป้องข้อมูลสำคัญโดยการสำรองข้อมูลเก็บไว้ในที่ปลอดภัย และเมื่อ Windows 10 Fall Creator Update ออกในวันที่ 17 ตุลาคม 2560 แนะนำว่าให้เปิดใช้ฟีเจอร์ Controlled Folder Access เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้สูงขึ้นครับ

How-to Microsoft Operating System Tips Windows 10
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.