Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

ป้องกันการปิดเครื่อง Windows Server 2016 โดยไม่ตั้งใจ

DefiniBy DefiniSeptember 14, 2018No Comments1 Min Read

โพสต์นี้มีเรื่องวิธีการป้องกันการปิดเครื่อง (Shutdown) เซิร์ฟเวอร์โดยไม่ตั้งใจมาฝากผู้ใช้ Windows Server 2016 โดยเฉพาะเมื่อติดตั้งใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant DL380p Gen8 ครับ

ปัญหาปิดเครื่อง Windows Server 2016 โดยไม่ตั้งใจ

เนื่องจากบน Windows Server 2016 นั้นมีการตั้งให้ทำปิดเครื่้องเมื่อมีการกดปุ่มพาวเวอร์ (Power) โดยดีฟอลท์ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยไม่ตั้งใจได้ เมื่อติดตั้งใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์บางรุ่นที่มีพอร์ตยูเอสบีอยู่ใกล้กับปุ่มพาวเวอร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant DL380p Gen8

โดยบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่มีพอร์ตยูเอสบีอยู่ใกล้กับปุ่มพาวเวอร์นั้น ถ้าหากทำการต่ออุปกรณ์ เช่น เม้าส์ หรือคีย์บอร์ดแบบยูเอสบีโดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้นิ้วมือพลาดไปกดปุ่มพาวเวอร์ ส่งผลทำให้ Windows Server 2016 ทำการปิดเครื่องโดยไม่ตั้งใจ

สำหรับวิธีการป้องกันปัญหานี้ทำได้โดยการตั้ง Windows Server 2016 ไม่ให้ปิดเครื่องเมื่อกดปุ่มพาวเวอร์

ข้อมูลระบบ

รายละเอียดระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้อ้างอิงในบทความนี้

  • Windows Server 2016 เวอร์ชัน 1607 (OS Build 14383.2485)
  • ลงชื่อเข้าระบบ Windows Server 2016 ด้วย Administrator

ตั้ง Windows Server 2016 ไม่ให้ปิดเครื่องเมื่อกดปุ่มพาวเวอร์

การตั้ง Windows Server 2016 ไม่ให้ปิดเครื่องเมื่อกดปุ่มพาวเวอร์ มีขั้นตอนดังนี้

1. ล็อกอินเข้าระบบ Windows Server 2016 ด้วย Administrator จากนั้นคลิกขวาปุ่ม Start หรือกดปุ่ม Windows + X จากนั้นคลิก Power Options

2. บนหน้า Power Options ให้คลิก Choose what the power button do

3. บนหน้า System Settings ในหัวข้อ Power buttons settings ให้ทำการตั้งค่า When I press the power button เป็น Do nothing (หรือ Turn off the display) เสร็จแล้วคลิก Save change

4. ปิดหน้าต่าง System settings

ผลการทำงาน

หลังจากทำการตั้ง Windows Server 2016 ไม่ให้ปิดเครื่องเมื่อกดปุ่มพาวเวอร์ จากนั้นจะไม่มีปัญหาการปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยไม่ตั้งใจจากการพลาดไปกดปุ่มพาวเวอร์อีกต่อไป

สรุป

ใครใช้ Windows Server 2016 บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant DL380p Gen8 หรือรุ่นที่มีพอร์ตยูเอสบีอยู่ใกล้กับปุ่มพาวเวอร์ แนะนำให้ทำการตั้งปุ่มพาวเวอร์ไม่ทำการปิดเครื่องเมื่อทำการกดปุ่มกันนะครับ

ประวัติการปรับปรุงบทความ
15 กันยายน 2561: เผยแพร่ครั้งแรก

How-to Microsoft Operating System System Administrator Tips Windows Server 2016
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.