Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

ติดตั้ง Office 2019 ด้วย Click to Run

DefiniBy DefiniSeptember 28, 2018No Comments4 Mins Read

ใครพยายามหาดาวน์โหลดไฟล์อิมเมจไอเอสโอของ Office 2019 บนเว็บไซต์ VLSC คงต้องผิดหวัง เนื่องจาก ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนวิธีการติดตั้ง Office 2019 สำหรับลูกค้า Volume License เป็นแบบ Click-to-run (แบบเดียวกับที่ใช้ติดตั้ง Office 365 เวอร์ชันเดสก์ท็อป) แทนการติดตั้งด้วย MSI แบบเดิม จึงไม่มีการออกไฟล์อิมเมจไอเอสโอให้ลูกค้า

การติดตั้ง Office 2019 แบบ Click-to-run นั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปจากการติดตั้งด้วย MSI หลายอย่าง โพสต์นี้ผมจึงจะขอแนะนำวิธีการติดตั้ง Office 2019 ด้วย Click to Run เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้งานกันครับ

การติดตั้ง Office 2019 ด้วย Click to Run

เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปทำตาม ผมจะแบ่งการติดตั้ง Office 2019 ด้วย Click to Run ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ดาวน์โหลด Office 2019 Deployment Tool

ขั้นตอนแรกให้คุณทำตามขั้นตอนดังนี้

[ดำเนินการบนเครื่อง Technician PC]

1. ลงชื่อเข้า Windows 10 (เครื่อง Technician PC) ด้วยผู้ใช้กลุ่ม Administrators

2. ทำการดาวน์โหลด Click to Run หรือ Office 2019 Deployment Tool จากเว็บไซต์ VLSC ซึ่งในขณะที่เขียนเรื่องนี้ ไฟล์ชื่อ Office 2019 Deployment Tool 16.0.10810.33603.exe (ชื่อไฟล์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต)

สำหรับผู้ใช้ Office 365 อ่านวิธี ติดตั้ง Office 365 ด้วย Deployment Tool

3. ทำการแตกไฟล์ Office 2019 Deployment Tool โดยการดับเบิลคลิกไฟล์ได้จากข้อ 1 (คลิก Yes บนหน้า User Account Control) คลิกยอมรับข้อตกลง แล้วคลิก Continue จากนั้นบนหน้า Browser for Folder เลือกโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บไฟล์ Office 2019 Deployment Tool

แนะนำให้เก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ใช้งานสะดวก (ในตัวอย่างนี้ผมเก็บไว้ในโฟลเดอร์ C:\Click to Run) แล้วคลิก OK คลิก OK อีกครั้งเพื่อจบการทำงาน จะได้ไฟล์ทั้งหมด 3 ไฟล์ คือ configuration-Office365-x64.xml, configuration-Office365-x86.xml และ setup.exe

ไฟล์ XML ที่ได้เป็นไฟล์ตัวอย่างสำหรับใช้ติดตั้ง Office 365 Pro Plus Retail นะครับ เราจะต้องทำการแก้ไขการตั้งค่า (Setting) ให้สอดคล้องกับ Office 2019 ก่อนจึงจะนำไปใช้งานได้ ครับ

ตัวอย่างในโพสต์นี้ ผมได้ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ XML ที่ได้จากขั้นตอนที่ 1.2 เป็น configuration.xml เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

ขั้นตอนที่ 2 แก้ไขไฟล์ configuration.xml

[ดำเนินการบนเครื่อง Technician PC]

ก็ตามที่ได้บอกไปข้างบนครับ คือว่าก่อนที่จะทำการดาวน์โหลดและติดตั้ง Office 2019 ได้นั้น เราจะต้องทำการแก้ไขไฟล์ configuration.xml ก่อน ซึ่งเราจะต้องอ้างการตั้งค่าจากเว็บไซต์ไมโครซอฟท์ ครับ

แนะนำให้สำรองไฟล์ configuration.xml ต้นฉบับก่อนทำการแก้ไข เผื่อกรณีเกิดความผิดพลาดจะได้ไม่ต้องทำใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น

เนื่องจากในการติดตั้งชุดโปรแกรม Office นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะให้ยกตัวอย่างการแก้ไขไฟล์ configuration.xml ทุกแบบคงไม่ไหว โพสต์นี้ ผมจึงขอยกตัวอย่างการแก้ไข 2 รูปแบบ ด้วยกันครับ

ทำการแก้ไขไฟล์ configuration.xml ตามขั้นตอนดังนี้

1. ลงชื่อเข้า Windows 10 (เครื่อง Technician PC) ด้วยผู้ใช้กลุ่ม Administrators

2. ใช้ File Explorer เปิดไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ Office 2019 Deployment Tool ในโพสต์นี้คือ C:\Click to Run

3. คลิกขวาไฟล์ configuration.xml จากนั้นเลือก Open with แล้วเลือก Notepad

4. ทำการแก้ไขการตั้งค่าต่างๆ ตามความต้องการ (อ้างอิงตัวอย่างที่ 1 และ 2 ด้านล่าง) เสร็จแล้วให้ทำการบันทึกการแก้ไขให้เรียบร้อย

ตัวอย่างการแก้ไขไฟล์ configuration.xml มีดังนี้

ตัวอย่างที่ 1: ต้องการติดตั้ง Office Professional Plus 2019 ตามรายละเอียดดังนี้

1. ติดตั้ง Office Professional Plus 2019 เวอร์ชันภาษาอังกฤษ รุ่น 64-บิต

2. ติดตั้ง Proofing Tools ภาษาไทย

3. แอคติเวตโดยใช้รหัสผลิตภัณฑ์ Multiple Activation Key (MAK) แบบ Volume License

4. ติดตั้งจากแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย \\server1\office 2019

5. ลบไฟล์ MSI ของ Office เวอร์ชันเก่าออกทั้งหมด

6. อัปเดตความปลอดภัยและคุณภาพจากระบบ Office CDN

ไฟล์ configuration.xml จะมีลักษณะดังรูปด้านล่าง

ตัวอย่างที่ 2: ต้องการติดตั้ง Office Professional Plus 2019 ตามรายละเอียดดังนี้

1. ติดตั้ง Office Professional Plus 2019 เวอร์ชันภาษาอังกฤษ รุ่น 64-บิต

2. ไม่ติดตั้ง Publisher

3. ติดตั้ง Proofing Tools ภาษาไทย

4. แอคติเวตโดยใช้รหัสผลิตภัณฑ์ Key Management Service (KMS)

5. ติดตั้งจากแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย \\server1\office 2019

6. ลบไฟล์ MSI ของ Office เวอร์ชันเก่าออกทั้งหมด

7. อัปเดตความปลอดภัยและคุณภาพจากระบบ Office CDN

ไฟล์ configuration.xml จะมีลักษณะดังรูปด้านล่าง

รายละเอียดและหน้าที่ของการตั้งค่าในไฟล์ configuration.xml แต่ละตัวมีรายละเอียดดังนี้

SourcePath เป็นการตั้งค่าสำหรับใช้กำหนดตำแหน่งที่ใช้เก็บไฟล์ติดตั้ง Office 2019 เมื่อใช้คู่กับสวิทช์ /Download และใช้บอกตำแหน่งไฟล์ติดตั้ง Office 2019 เมื่อใช้คู่กับสวิทช์ /Configure โดยค่า SourcePath สามารถใช้ได้ทั้งโฟลเดอร์บนเครื่อง (Local path) เช่น C:\Office 2019 และ ของ UNC ของแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย เช่น \\server1\office 2019

Product ID เป็นการตั้งค่าสำหรับใช้กำหนดเวอร์ชันของ Office 2019 ที่จะดาวน์โหลด เมื่อใช้คู่กับ /Download และใช้กำหนดเวอร์ชันที่จะทำการติดตั้งเมื่อใช้คู่กับ /Configure โดยค่า ID ของ Office 2019 มีดังนี้

  • ProPlus2019Volume
  • Standard2019Volume
  • ProjectPro2019Volume
  • ProjectStd2019Volume
  • VisioPro2019Volume
  • VisioStd2019Volume

PIDKEY เป็นรหัสผลิตภัณฑ์ Multiple Activation Key (MAK) แบบ Volume License (ที่ได้จากเว็บไซต์ VLSC) สำหรับแอคติเวต Office 2019 สำหรับกรณีที่แอคติเวตแบบ Key Management Service (KMS) ไม่ต้องกำหนดค่า PIDKEY

Language ID กำหนดเวอร์ชันภาษาที่ทำการดาวน์โหลดหรือติดตั้ง เช่น English (en-us) และ French (fr-fr) โดยสามารถทำการติดตั้ง Office 2019 ได้หลายภาษาในครั้งเดียวได้

Product ID ใช้กำหนดเวอร์ชันภาษา “ProofingTools” ที่ทำการดาวน์โหลดหรือติดตั้ง โดยใช้ให้สัมันธ์กับ ค่าที่กำหนดใน Language ID

OfficeClientEdition เป็นการตั้งค่าสำหรับใช้กำหนดว่าต้องการดาวน์โหลด (เมื่อใช้คู่กับ /download) หรือติดตั้ง (เมื่อใช้คู่กับ /configure) Office 2019 รุ่น 32-บิต หรือ 64-บิต โดยเครื่องพีซีจะต้องใช้ Office รุ่นเดียวกันในทุกโปรแกรม Office

สำหรับผู้ใช้ที่มีหน่วยความจำมากกว่า 4 GB ไมโครซอฟท์แนะนำให้ใช้ Office 2019 รุ่น 64-บิต เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

ExcludeApp เป็นการตั้งค่าสำหรับใช้กำหนดว่าทำการติดตั้ง Office 2019 ยกเว้นแอปตัวที่ระบุ ตัวอย่างเช่น ติดตั้ง Office Professional Plus 2019 แต่ไม่ติดตั้ง Publisher จะใช้เป็น <ExcludeApp ID=”Publisher”/>

UpdatePath เป็นการตั้งค่าสำหรับใช้กำหนดพาธของการอัปเดตความปลอดภัยและคุณภาพ (Security and Quality) Office 2019 โดยเริ่มต้นจะกำหนดให้ทำการอัปเดตจากระบบ Office CDN บนอินเทอร์เน็ต

ในกรณีของการอัปเดต Office 2019 บนพีซีที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เราสามารถใช้พารามิเตอร์นี้กำหนดพาธการอัปเดตเป็น UNC ของแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย เช่น \\file_server\office 2019 อย่างไรก็ตาม การอัปเดต Office 2019 จากแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย เราต้องทำการดาวน์โหลดไฟล์อัปเดตจาก Office CDN บนอินเทอร์เน็ตลงแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่ายเอง

Channel เป็นการตั้งค่าสำหรับใช้กำหนดว่าต้องการอัปเดต Office 2019 ผ่านทางช่องไหน โดย Office Professional Plus 2019 และ Office Standard 2019 นั้นจะใช้ช่องการอัปเดตชื่อ “PerpetualVL2019” ซึ่งจะเป็นช่องการอัปเดตโดยเริ่มต้น (Default) สำหรับ Project 2019 และ Visio 2019 ที่เป็นแบบ Volume License

RemoveMSI เป็นการตั้งค่าสำหรับสั่งให้ทำการลบไฟล์ Windows Installer (MSI) ของ Office เวอร์ชันก่อนติดตั้ง Office 2019

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากเว็บไซต์ไมโครซอฟท์ที่แสดงอยู่ในหัวข้อ “แหล่งข้อมูลอ้างอิง” ครับ

ขั้นตอนที่ 3. ดาวน์โหลด Office 2019

ข้อควรทราบ

ขั้นตอนนี้ผมใช้แชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย (เครื่องเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2016) โดยมีพาธ UNC เป็น \\server1\office 2019 ในการใช้งานจริงให้ ถ้าคุณยังไม่แชร์โฟลเดอร์บนเครือข่ายคุณจะต้องทำการสร้างขึ้นมาก่อน ซึ่งอาจใช้ Windows 10 ก็ได้ ที่สำคัญต้องให้สิทธิ์เข้าถึงการแชร์ (Share permission) แบบเขียน (Write) กับผู้ใช้ที่ทำการดาวน์โหลด Office 2019 และแบบอ่าน (Read) กับผู้ใช้ที่ทำการติดตั้ง Office 2019

หลังจากแก้ไขไฟล์ configuration.xml เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นทำการดาวน์โหลด Office 2019 ตามขั้นตอนดังนี้

[ดำเนินการบนเครื่อง Technician PC]

1. ลงชื่อเข้า Windows 10 (เครื่อง Technician PC) ด้วยผู้ใช้กลุ่ม Administrators

2. เปิด Command Prompt โดยพิมพ์ cmd ในช่อง Type here to search ของ Cortana จากนั้นคลิก Command Prompt (Desktop app) จากผลการค้นหา

3. ที่หน้า Command Prompt ให้เปลี่ยนไปทำงานในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ Office 2019 Deployment Tool ในที่นี้คือ C:\Click to run

4. รันคำสั่งด้านล่างแล้วรอจนโปรแกรมทำการดาวน์โหลดแล้วเสร็จ ขั้นตอนนี้ใช้เวลานานดาวน์โหลดหลายนาทีไปจนถึงชั่วโมงแล้วแต่ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่คุณใช้งานครับ

Setup /download configuration.xml

เสร็จแล้วจะได้ไฟล์และโฟลเดอร์ลักษณะดังรูปด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 4. ติดตั้ง Office 2019 ด้วย Click to run

หลังจากดาวน์โหลด Office 2019 ลงในแชร์โฟลเดอร์บนเครือข่าย (ในโพสต์นี้ คือ \\server1\office 2019) gเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราสามารถทำการติดตั้ง Office 2019 ด้วย Click to tun ได้ตามขั้นตอนดังนี้

[ดำเนินการบนเครื่องพีซี Windows 10 เป้าหมาย]

1. ลงชื่อเข้า Windows 10 ที่ต้องการติดตั้ง Office 2019 ด้วยผู้ใช้กลุ่ม Administrators จากนั้นทำการสร้างโฟลเดอร์ใหม่บนไดรฟ์ D: (หรือไดรฟ์อื่นตามความเหมาะสม) โดยตั้งชื่อเป็น Office 2019 (หรือชื่ออื่นตามความเหมาะสม)

2. ทำการก็อปปี้ไฟล์ Office 2019 Deployment Tool และไฟล์ configuration.xml ที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วในขั้นตอนที่ 2 ลงไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ C:\Click to run

3. เปิด Command Prompt (admin) โดยพิมพ์ cmd ในช่อง Type here to search ของ Cortana จากนั้นคลิกขวา Command Prompt (Desktop app) จากผลการค้นหาแล้วเลือก Run as administrator โดยให้คลิก Yes บนหน้า User Account Control (ถ้ามี)

4. ที่หน้า Command Prompt ให้เปลี่ยนไปทำงานในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ Office 2019 Deployment Tool ในที่นี้คือ C:\Click to run

5. รันคำสั่งด้านล่างแล้วรอจนการติดตั้ง Office 2019 แล้วเสร็จ ครับ

Setup /configure configuration.xml

หมายเหตุ: อ่านรายละเอียดความต้องการระบบของ Office 2019 ได้ที่เว็บไซต์ http://office.com/systemrequirements

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Microsoft

How-to Microsoft MS Office & Office 365 Tutorials
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.