Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

ลบ Temporary files บน Windows 10 อัตโนมัติ

DefiniBy DefiniAugust 25, 2019No Comments2 Mins Read

ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำ วิธีลบไฟล์ชั่วคราว (Temporary files) บน Windows 10 ด้วยตนเองไปแล้ว แต่ถ้าหากไม่สะดวกที่จะทำการลบเอง ก็สามารถสั่งให้ Windows 10 ทำการลบชั่วคราวอัตโนมัติโดยใช้ฟีเจอร์ Storage Sense ตามขั้นตอนด้านล่าง

การลบ Temporary files โดยอัตโนมัติบน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

การตั้งให่้ Windows 10 เวอร์ชัน 1903 ลบ Temporary files โดยอัตโนมัติมีขั้นตอนดังนี้

1. เปิด Windows Settings โดยคลิก Start จากนั้นคลิก Settings (หรือกดแป้นพิมพ์ลัด Windows + I)

2. บนหน้าต่าง Windows Settings คลิก System จากนั้นคลิกหัวข้อ Storage

3. บนหน้า Storage ภายใต้หัวข้อ Local Disk ให้คลิก Temporary files

4. บนหน้า Storage ให้เลื่อนการตั้งค่าเป็น On (ค่าดีฟอลท์เป็น) Off

5. ปิด Settings เพื่อจบการทำงาน

การลบ Temporary files โดยอัตโนมัติบน Windows 10 เวอร์ชัน 1809 หรือเก่ากว่า

การตั้งให่้ Windows 10 เวอร์ชัน 1809 ลบ Temporary files โดยอัตโนมัติมีขั้นตอนดังนี้

1. เปิด Windows Settings โดยคลิก Start จากนั้นคลิก Settings (หรือกดแป้นพิมพ์ลัด Windows + I)

2. บนหน้าต่าง Windows Settings คลิก System จากนั้นคลิกหัวข้อ Storage

3. บนหน้า Storage ภายใต้หัวข้อ Local Disk ให้คลิก Temporary files

4. บนหน้า Storage ให้เลื่อนการตั้งค่า Storage Sense เป็น On (ค่าดีฟอลท์เป็น) Off

5. ปิด Settings เพื่อจบการทำงาน

ผลการทำงาน

หลังจากทำตามนตอนด้านบนเสร็จแล้ว จากนั้น Storage sense จะทำการลบ temporary files รวมถึงไฟล์ที่อยู่ใน recycle bin นานกว่า 30 วัน โดยอัตโนมัติ

ปรับแต่งการทำงาน Storage sense

ผู้ใช้ Windows 10 เวอร์ชัน 1903 หรือใหม่กว่า สามารถปรับแต่งการทำงาน Storage sense ได้จากหน้า Storage โดยให้เลื่อนการตั้งค่าเป็น On ก่อนจากนั้นคลิก Configure Storage Sense of run it now

รัน Storage Sense ตามวันที่กำหนด
บนหน้า Configure Storage Sense of run it now สามารถกำหนดว่าจะให้ Storage sense ทำงานทุกกี่วัน ได้จากหัวข้อ RUN Storage Sense

สามารถกำหนดให้รัน Storage Sense ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

  • During low free disk space (ดีฟอลท์) รัน Storage Sense เมื่อดิสก์มีที่ว่างเหลือน้อย
  • Every day รัน Storage Sense ทุกวัน
  • Every week รัน Storage Sense ทุกสัปดาห์
  • Every month รัน Storage Sense ทุกเดือน

ลบ Temporary Files อัตโนมัติ
โดยดีฟอลท์ Storage Sense จะทำการลบไฟล์ Temporary Files ทุก 30 วัน แต่สามารถตั้งให้ลบทุก 1 วัน 14 วัน 30 วัน หรือ 60 วัน โดยเลือกตั้งค่าในหัวข้อ Delete temporary files that my aren’t using ที่อยูในหัวข้อ Temporary Files

ลบไฟล์ในโฟลเดอร์ดาวน์โหลดอัตโนมัติ
นอกจากนี้ยังสามารถตั้งให้ Storage Sense ทำการลบไฟล์ในโฟลเดอร์ดาวน์โหลด ทุก 1 วัน 14 วัน 30 วัน หรือ 60 วัน โดยค่าดีฟอลท์จะไม่ทำการลบไฟล์ในโฟลเดอร์ดาวน์โหลด

รัน Storage Sense ทันที
สามารถทำการรัน Storage Sense ทันทีได้โดยในหัวข้อ Free up space now คลิก Clean now

ประวัติการปรับปรุงบทความ
25 สิงหาคม 2562: เผยแพร่ครั้งแรก

How-to Tips Windows 10
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.