ปกติแล้วผมจะทำการเช็คพ้อยน์ (Checkpoint)* คอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) เก็บไว้ทุกครั้งก่อนทำการติดตั้งอัพเดตความปลอดภัยหรือติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม เผื่อว่าถ้าเกิดอุปัทวเหตุที่คาดไม่ถึงจะได้ย้อนสถานะกลับไปยังจุดที่ไม่มีปัญหาได้ โดยการย้อนกลับไปยังเช็คพ้อยน์นั้นทำได้ 2 แบบ คือ การประยุกต์ใช้ (Apply) และการกลับสู่สภาพเดิม (Revert) แล้วทั้ง 2 วิธีนี่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? ผมมีรายละเอียดมาฝากครับ

อัปเดต: ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 เวอร์ชันเต็มอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา ถ้าหากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะอัปเกรด Windows 10 อ่านรายละเอียดได้ที่ วิธีอัปเกรด Windows 7 หรือ 8.1 เป็น Windows 10 [ต้นฉบับ] วันเสาร์นี้ (13 มิถุนายน 2558) ไม่มีภารกิจจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำการจองอัปเกรด Windows 10 เสียทีเพื่อตอบแทนความใจดีของไมโครซอฟท์ให้อัปเกรด Windows 10 ฟรี (เอกสิทธิ์เฉพาะผู้ใช้ Windows 7 และ Windows 8.1 ที่ผ่านเงื่อนไขของไมโครซอฟท์นะครับ) สำหรับเครื่องพีซีที่ผมใช้ในครั้งนี้เป็นแท็บเล็ต Latitude 10 ติดตั้ง Windows 8.1 Pro ครับ

ไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้ใช้ที่ตั้งค่าวงแหวน (Ring) เป็น Slow อัพเดต Windows 10 Insider Preview Build 10130 ได้แล้วหลังจากล่าช้ามากว่า 1 สัปดาห์เนื่องจากแก้บั๊กไม่แล้วเสร็จ ซึ่งปกติจะต้องอัพเดตได้พร้อมกับการออกไฟล์ไอเอสโออิมเมจ (ISO Image) ที่ออกเมื่อ 5 มิถุนายน ส่วนผู้ใช้วงแหวน Fast นั้นสามารถทำการอัพเดต Build 10130 ได้ตั้งแต่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา

เมื่อต้องการให้ Windows เปิดโปรแกรมหรือรันแบทช์ไฟล์โดยอัตโนมัติเมื่อลงชื่อเข้าเครื่อง ผมจะใช้วิธีการเอาชอร์ตคัทของโปรแกรมหรือแบทช์ไฟล์ที่ต้องการรันไปไว้ในโฟลเดอร์ Startup แต่เนื่องจากบน Windows 8.1 ไม่สามารถเปิดโฟลเดอร์ Startup จากเมนูโปรแกรมได้เหมือนบน Windows 7 (เลื่อนลงไปดูรูปที่ 3 จะเห็นภาพได้ชัดเจน) ทำให้ต้องเสียเวลาหาอยู่นานกว่าจะพบ (ผมลองใช้การค้นหาของ Windows แต่ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย) จึงนำวิธีการเปิดโฟลเดอร์ Startup บน Windows 8.1 มาฝากเพื่อคุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเหมือนผมครับ

อัพเดต: ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 เวอร์ชันเต็มอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา ถ้าหากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะอัพเกรด Windows 10 อ่านรายละเอียดได้ที่ วิธีอัพเกรด Windows 7 หรือ 8.1 เป็น Windows 10 [เรื่องต้นฉบับ] ถึงตอนนี้เราทราบแล้วว่า Windows 10 จะออกวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ซึ่งไมโครซอฟท์จะให้อัพเกรดฟรีแก่ผู้ใช้พีซี Windows 7 และ 8.1 (มีเงื่อนไข*) โดยมีข้อแม้ว่าต้องอัพเกรดภายในเวลา 1 ปีนับจากวันออก สำหรับรุ่น Windows 10 ที่จะได้นั้นขึ้นอยู่กับรุ่น Windows 7 และ 8.1 ที่กำลังใช้งานตามพาธการอัพเกรดเป็น Windows 10 ที่นำมาฝากในวันนี้ครับ

นับจากวันที่เขียนเรื่องนี้ (9 มิ.ย. 58) ถึงวันที่ Windows 10 ออกในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เป็นเวลา 51 วัน แต่ไม่ถือว่าเร็วเกินไปสำหรับผู้ดูแลระบบในการเตรียมตัวอัพเกรด Windows 10 เนื่องจากมีหลายงานที่ต้องทำ เช่น ทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เป็นต้น และเพื่อให้การอัพเกรดเป็นไปอย่างราบรื่นและมีปัญหาน้อยที่สุด ผมจึงรวบรวมรายละเอียดความต้องการระบบและข้อกำหนดการอัพเกรด Windows 10 มาฝากครับ

ถึงตอนนี้เราได้ทราบแล้วว่า Windows 10 จะมาพร้อมคุณสมบัติใหม่มากมายหลายอย่างรวมถึงการกลับมาอีกครั้งของเมนู Start หลังจากถูกตัดออกใน Windows 8/8.1 ในขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติหลายตัวที่ถูกตัดออกจาก Windows 10 และฟังก์ชันการทำงานบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมรายละเอียดดังต่อไปนี้

วันนี้มีประสมการณ์การใช้งาน Windows Server Update Services (WSUS) มาฝากครับ เรื่องคือว่าผมใช้ WSUS เซิร์ฟเวอร์จัดการการอัพเดต Windows และซอฟต์แวร์ต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ซึ่งระบบทำงานได้ดีมาตลอด แต่อยู่มาวันหนึ่งเมื่อผมเปิด Administration Console เพื่อจัดการอัพเดตปรากฏว่าเปิดไม่ได้โดยเกิดข้อผิดพลาดดังรายละเอียดด้านล่าง

ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 10130 ในรูปแบบไฟล์ไอเอสโออิมเมจ (ISO Image) ให้ดาวน์โหลดได้แล้ว อย่างไรก็ตามผู้ใช้ Build 10122 ที่ตั้งค่าวงแหวน (Ring) เป็น Slow จะยังไม่สามารถอัพเดตเป็น Build 10130 ได้เนื่องจากยังมีบั๊กที่ยังแก้ไม่เสร็จ

วันนี้ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ Windows 10 กันต่อครับ เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการอัพเกรด Windows 8 บนแท็บเล็ต Latitude 10 เป็น Windows 10 Insider Preview Build 10074 หลังจากนั้นเมื่อผมลงชื่อเข้าเครื่องจะได้รับการแจ้งเตือน (แกมบังคับ) ให้เปิดใช้งาน Windows (Activate Windows) โดยจะไม่ให้ทำงานอย่างอื่นนอกจากเปิดหน้า Setting ครั้งแรกๆ ผมก็เปิดหน้า Setting แต่ไม่ได้ทำการเปิดใช้งานแต่อย่างใด เหตุการณ์นี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกครั้งที่ลงชื่อเข้าเครื่องจนในที่สุดก็ทน (รำคาญ) ไม่ไหวผมจึงทำการเปิดใช้งานให้รู้แล้วรู้รอด (ฮ่าๆๆ)