สวัสดีครับ บทความนี้ผมมีขั้นตอนการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 Server with a GUI ซึ่งเป็นโหมดการติดตั้งที่มีระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) อย่างเต็มรูปแบบที่มาพร้อมเครื่องมือสำหรับใช้ในการตั้งค่าและการจัดการแบบกราฟิกต่างๆ เช่น Server Manager เป็นต้น มาฝากครับ

หลังจากทำการอัพเกรด Windows  8 ไปเป็น Windows 8.1 บางคนอาจจะแปลกใจเมื่อเปิด File Explorer แล้วไม่พบไลบรารี่ (Libraries) ในบานหน้าต่างนำทาง (Navigation pane) โดยในตำแหน่งเดิมที่มันเคยอยู่นั้นถูกแทนที่ด้วย OneDrive ในขณะที่ไลบรารี่ต่างๆ ถูกย้ายเข้าไปอยู่ภายใต้ This PC ดังรูปที่ 1

การติดตั้ง Windows 8.1 Update สำหรับผู้ใช้ทั่วไปนั้นสามารถทำได้หลายดังรายละเอียดที่ผมเคยได้โพสต์ไปแล้วก่อนหน้านี้ (อ่านรายละเอียด) แต่สำหรับลูกค้าองค์กรที่ซื้อซอฟต์แวร์แบบ Volume License (VL) และมีไลเซนส์ Software Assurance (SA) ยังสามารถทำการติดตั้ง Windows 8.1 Update แบบ Clean Install* ซึ่งเป็นการติดตั้งใหม่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เปล่าได้ตามขั้นตอนด้านล่างครับ

วันนี้ผมมีโอกาสได้ทำการติดตั้ง Windows 8.1 แล้วเกิดข้อผิดพลาด “Windows cannot find the Microsoft Software License Terms.” (ดังรูปที่ 1) จึงนำประสบการณ์การแก้ไขปัญหามาบันทึกไว้บนบล็อกเพื่ออย่างน้อย 1. ไว้ช่วยเตือนความจำให้ตัวเองในอนาคต และ 2. เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาลักษณะเดียวกันนี้ ครับ

ถึงตอนนี้ คิดว่าผู้ใช้ Windows 8.1 ที่ได้ทำการติดตั้งอัพเดตประจำเดือนพฤษภาคมซึ่งไมโครซอฟท์ออกเมื่อวันที่ 14 ที่ผ่านมา คงได้ใช้งาน Windows Store แบบใหม่ที่มีลักษณะดังรูปที่ 1 กันเรียบร้อยแล้ว และคงจะสังเกตเห็นความแตกต่างจากแบบก่อน (รูปที่ 2) ได้อย่างชัดเจน

วันนี้ผมมีประสบการณ์ความยุ่งยาก (กว่าที่คิด) ในการเปลี่ยนตำแหน่งบนเครือข่าย (Network Location) บนเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 จาก Public network ไปเป็น Private network มาแบ่งปัน ที่บอกว่ายุ่งยากเพราะว่าบนเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 ไม่มีเครื่องมือแบบกราฟิกสำหรับใช้เปลี่ยนตำแหน่งบนเครือข่ายเหมือนบน Windows 8/8.1 แต่จะต้องใช้ Group Policy Editor (GP Editor) หรือ Windows PowerShell ซึ่งวิธีการหลังนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายกว่าและเป็นวิธีที่ผมนำมาฝากในวันนี้ครับ

วันนี้มีทิปการใช้งาน OneDrive ที่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบมาฝากครับ เป็นวิธีการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล (Remote) ผ่านทางแอป OneDrive ซึ่งช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางได้แม้ว่ามันจะไม่ได้เก็บอยู่ในโฟลเดอร์ OneDrive ก็ตาม

ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำวิธีการเปิดใช้งาน Hyper-V บน Windows 8.1 ไปแล้ว (อ่านได้ที่นี่) ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) เพื่อใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือแอปพลิเคชันสำหรับใช้ทดสอบโปรแกรมหรือแม้แต่ใช้งานจริง

สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องมาแจ้งเตือนผู้ใช้ Windows 8 และ 8.1 ที่ยังไม่ได้ทำการอัปเดทระบบไปเป็น Windows 8.1 Update นั้นคือ ไมโครซอฟท์ได้กำหนดเส้นตายให้ผู้ใช้ Windows 8.1 ต้องทำการติดตั้ง Windows 8.1 Update ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2557* ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับการอัปเดทต่างๆ ซึ่งรวมถึงอัปเดทสำหรับแก้ไขปัญหาความปลอดภัยได้โดยเส้นตายนี้จะมีผลกับผู้ใช้ทั่วไป

วันนี้ผมมีวิธีการเปิดใช้งานคุณสมบัติ Client Hyper-V บน Windows 8.1 มาฝากครับ เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างยาวจึงจะแบ่งออกเป็น 3 ตอนด้วยกัน โดยในตอนนี้จะเป็นตอนที่ 1 ซึ่งจะเป็นการแนะนำ Client Hyper-V วิธีการเปิดใช้งาน Hyper-V บน Windows 8.1 และการจัดการ Client Hyper-V ส่วนตอนที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ครับ