Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

OneDrive Files Restore ฟีเจอร์ช่วยกู้ไฟล์ถูกเข้ารหัสโดย Ransomware

DefiniBy DefiniApril 12, 2018No Comments2 Mins Read

โพสต์นี้เป็นการสาธิตวิธีการใช้งานฟีเจอร์ Files Restore บน OneDrive ซึ่งนอกจากมีประโยชน์ในการกู้คืนไฟล์จากความเสียหายแล้ว ที่สำคัญยังสามารถใช้กู้ไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสโดยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware ได้อีกด้วย)

ฟีเจอร์ Files Restore บน OneDrive

ฟีเจอร์ Files Restore เป็นโซลูชั่นการกู้ข้อมูล (Recovery) แบบ Self-Service ที่ช่วยให้ทั้งผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ Office 365 สามารถกู้ไฟล์ย้อนหลังกลับไปได้นานถึง 30 วัน โดย Files Restore จะทำการเก็บสถานะความเปลี่ยนแปลงของไฟล์ที่เก็บอยู่บน OneDrive เช่น การแก้ไขไฟล์ (Updated) การอัปโหลดไฟล์ (Added) การเปลี่ยนชื่อไฟล์ (Renamed) ไว้เป็นเวลา 30 วัน

ดังนั้น ถ้าหากผู้ใช้ Office 365 พบปัญหาไฟล์เสียหาย ไฟล์มีการติดมัลแวร์ หรือไฟล์ถูกเข้ารหัสโดย Ransomware ผู้ใช้สามารถทำการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของไฟล์ และกู้ไฟล์จากสถานะก่อนที่ไฟล์เกิดความเสียหาย หรือก่อนการเปลี่ยนแปลงที่ต้องสงสัยได้ โดยสามารถกู้ไฟล์จากเวลาใดใดในย้อยกลับไป 30 วัน

ไมโครซอฟท์เริ่มออกฟีเจอร์ Files Restore สำหรับ OneDrive แผน Business เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 และล่าสุดออกให้กับผู้ใช้ OneDrive แผน Office 365 Home หรือ Office 365 Personal เมื่อต้นวันที่ 5 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา

วิธีการกู้ไฟล์บน OneDrive ด้วย Files Restore

ในกรณีเกิดไฟล์ที่เก็บอยู่บน OneDrive เสียหาย ติดมัลแวร์ หรือถูกเข้ารหัสโดย Ransomware ผู้ใช้ OneDrive สามารถย้อนสถานะไฟล์กลับไปได้นาน 30 วันโดยการใช้ฟีเจอร์ Files Restore ตามขั้นตอนดังนี้

1. ไซน์อินเข้าระบบ OneDrive ด้วยบัญชี Office 365 ของสถานศึกษา หรือของที่ทำงาน

2. บนหน้าโฮมของ OneDrive ให้คลิก [1] Settings จากนั้นเลือกหัวข้อ [2] OneDrive Restore your OneDrive

3. บนหน้า Restore OneDrive ให้เลือกหัวข้อ Select a date เป็น [3] Custom date and time จากนั้นให้ตรวจสอบรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงไฟล์จากกราฟ Histogram ซึ่งจะแสดงข้อมูลย้อนหลัง 30 วัน (0-29)

การรีสโตร์ไฟล์ทำได้โดยการเลื่อน [4] ตัวเลื่อนไปยังวันที่ต้องการ เช่น วันก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไฟล์

4. คลิกเลือก [5] ไฟล์ที่ต้องการรีสโตร์ (เลือกหลายไฟล์พร้อมกันได้) เสร็จแล้วคลิก [6] Restore

5. OneDrive จะแสดงพร้อมท์ Are you sure you want to restore your OneDrive ให้เลือก [7] Restore แล้วรอจนการทำงานแล้วเสร็จ

6. บนหน้าถัดไปให้คลิก [8] Return to my OneDrive

สรุป

ฟีเจอร์ Files Restore บน OneDrive ช่วยให้ผู้ใช้ OneDrive แผน Business, Home และ Personal สามารถย้อนสถานะของไฟล์กลับยังวินาทีใดใดได้เป็นระยะเวลา 30 วัน ซึ่งนอกจากใช้กู้ไฟล์จากความเสียหายแล้ว ยังสามารถใช้กู้ไฟล์ที่ติดมัลแวร์และถูกเข้ารหัสโดย Ransomware ได้อีกด้วย

ข้อสังเกต
เราสามารถใช้ Files Restore ทำการกู้คืนเฉพาะไฟล์ที่ต้องการได้เฉพาะไฟล์ที่เปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ล่าสุดเท่านั้น หมายความว่า ถ้าเราต้องการกู้คืนไฟล์ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ในลำดับที่ 5 เราจะต้องทำการกู้คืนไฟล์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ในลำดับที่ 1-4 ด้วย

แหล่งอ้างอิง
Microsoft
OneDrive Blog

ประวัติการปรับปรุงบทความ
12 เมษายน 2561: เผยแพร่ครั้งแรก

Cloud How-to Microsoft Tips
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.