Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
Android

วิธีการตั้งค่า Proxy Server บน Android

DefiniBy DefiniSeptember 30, 2015No Comments1 Min Read

การตั้งค่าพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ (Proxy Server) บนเครื่องพีซี Windows นั้นผู้ใช้จะต้องแยกทำบนเบราเซอร์แต่ละตัว เช่น Internet Explorer และ Firefox (Chrome ใช้การตั้งค่าพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ร่วมกับ Internet Explorer) แต่สำหรับบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์ (Android) นั้นสามารถตั้งค่าพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์จาก System settings เพียงจุดเดียวโดยจะมีผลกับเบราเซอร์ทุกตัว หากคุณยังทำไม่เป็นสามารถอ่านวิธีทำได้จากด้านล่างครับ

Proxy Server คืออะไร?
ก่อนอื่นขอแนะนำให้รู้จักก่อนว่าพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์คืออะไร

พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ คือ ตัวกลางระหว่างเว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ต พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บ โดยการเก็บสำเนา (Cache) หน้าเว็บที่ใช้บ่อยไว้ เมื่อเบราว์เซอร์ร้องขอหน้าเว็บที่เก็บอยู่ในคอลเล็กชันของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ (เรียกว่าแคชของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์) พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะจัดส่งหน้าเว็บนั้นให้ซึ่งจะเร็วกว่าการไปที่เว็บโดยตรง นอกจากนี้ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ยังสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยโดยการกรองเนื้อหาเว็บและซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายออก (อ้างอิงจาก http://windows.microsoft.com/th-th/windows-vista/what-is-a-proxy-server ครับ)

การตั้ง Proxy Server บน Android
เนื่องจากบนแอนดรอยด์นั้นระบบอนุญาตให้ตั้งค่าพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ได้เฉพาะการเชื่อมต่อใหม่เท่านั้น ดังนั้นถ้าคุณกำลังต่อ WiFi อยู่ให้คุณทำการตัดการเชื่อมต่อออกก่อนตามขั้นตอนดังนี้

สำหรับสมาร์ทโฟนที่ใช้อ้างอิงในบทความนี้ใช้แอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.4.2 (KitKat)

1. บนหน้า Home ให้แตะหน้าจอค้างจนปรากฏหน้า Manage Home จากนั้นแตะ System settings

รูปที่ 1

2. บนหน้า System settings ในหัวข้อ Wireless & Networks ให้แตะ Wi-Fi (ถ้าหาก Wi-Fi ปิดอยู่ คือตั้งเป็น “OFF” ให้เปิด โดยตั้งค่าเป็น “ON” ก่อนนะครับ)

รูปที่ 2

3. บนหน้า Wi-Fi ให้แตะชื่อการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่มีสถานะ Connected

รูปที่ 3

4. บนหน้าถัดไปแตะ Forget เพื่อตัดการเชื่อมต่อ WiFi (ยังไม่ต้องปิดหน้า Wi-Fi เพราะต้องใช้งานต่อในขั้นตอนถัดไป)

รูปที่ 4

หลังจากนั้นให้คุณทำการเชื่อมต่อ WiFi ใหม่ โดยดำเนินการดังนี้
ถ้าคุณปิดหน้า Wi-Fi ไปแล้วให้คุณทำขั้นตอนที่ 1 และ 2 ถ้ายังไม่ปิดให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 3 ได้เลยครับ
1. บนหน้า Home ให้แตะหน้าจอค้างจนปรากฏหน้า Manage Home จากนั้นแตะ System settings
2. บนหน้า System settings ในหัวข้อ Wireless & Networks ให้แตะ Wi-Fi
3. บนหน้า Wi-Fi ให้แตะชื่อ WiFi ที่ต้องการใช้งาน จากนั้นให้ติ๊ก Show advanced options แล้วภายใต้หัวข้อ Proxy (จะสังเกตเห็นได้ว่าค่าเริ่มต้นจะเป็น None) ให้แตะบน None จากนั้นแตะ Manual

รูปที่ 5

4. จากนั้นป้อนชื่อพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์และหมายเลขพอร์ตในช่อง Proxy hostname เช่น proxy1.company-name.com และ proxy port (โดยทั่วไปจะใช้ 8080 ) ตามลำดับ เสร็จแล้วแตะ Connect

รูปที่ 6

หลังจากทำตามขั้นตอนด้านบนเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณจะสามารถใช้งานเบราเซอร์ เช่น Firefox และ Chrome ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ได้ครับ

หมายเหตุ: การตั้งค่าพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์บนแอนดรอยด์นี้มีผลกับเบราเซอร์เท่านั้นแต่จะไม่มีผลกับแอปอื่นๆ ครับ

Android How-to Smartphone Tips Tutorials
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.