Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
Android

วิธีลดแสงสีฟ้า (Blue light) บนสมาร์ทโฟน Android

DefiniBy DefiniMay 20, 2018No Comments2 Mins Read

โพสต์นี้มีวิธีการบรรเทาอาการระคายเคืองตาที่มีสาเหตุมาจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการเล่นโดยไม่เปิดไฟให้สว่างเพียงพอ มาฝากครับ

การระคายเคืองตาจากการใช้งานโทรศัพท์มือ

เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ตรงของตัวผมเอง – ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะดวงตาคือ การเล่นโทรศัพท์โดยไม่เปิดไฟให้สว่างเพียงพอ ซึ่งจะเกิดเป็นประจำในระหว่างการเข้านอน แบบว่าพอปิดไฟจะเข้านอน ต้องหยิบโทรศัพท์มือถือมา เช็คแชทไลน์ ส่องเฟสบุ๊ค อ่านไทม์ไลน์ทวิตเตอร์ ก่อนไม่งั้นนอนไม่หลับ ตอนแรกก็กะว่าจะเล่นโทรศัพท์มือถือสัก 5 นาที 10 นาทีแล้วเข้านอน แต่ที่ไหนได้รู้สึกตัวอีกทีผ่านไปเกือบชั่วโมง (บางครั้งเกินชั่วโมง) 55 ผลจากพฤติกรรมดังกล่าวนอกจากทำให้(รู้สึกว่า)นอนหลับพักผ่อนไม่(เคย)เพียงพอแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องระคายเคืองตาตามมาอีกด้วย

วิธีป้องกันการระคายเคืองตาจากการใช้งานโทรศัพท์

ผมคิดว่าทุกคนคงทราบดีถึงวิธีป้องกันการระคายเคืองตาจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือกันอยู่แล้ว คือ อย่าใช้งานโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อย่าเล่นโทรศัพท์มือถือในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน ปัญหาคือรู้วิธีป้องกัน รู้วิธีหลีกเลี่ยง แต่(รวมตัวผม)ทำไม่ได้

แล้วมีวิธีไหนบ้างที่สามารถลดอาการระคายเคืองตาจากการใช้งานโทรศัพท์มือ ที่ไม่ต้องถึงกับหยุดเล่นโดยสิ้นเชิง?

สำหรับวิธีลดอาการระคายเคืองตาจากการใช้งานโทรศัพท์มือนั้น จากการทดลองใช้งานโทรศัพท์มือถือโดยการไม่เปิดฟีเจอร์กรองแสงนีน้ำเงิน (Blue light filter) เปรียบเทียบกับการเปิดฟีเจอร์กรองแสงนีน้ำเงิน ผมรู้สึกว่าการเปิดฟีเจอร์กรองแสงนีน้ำเงินทำให้อาการระคายเคืองตาน้อยกว่าการไม่เปิดฟีเจอร์กรองแสงนีน้ำเงินครับ (ย้ำ! เป็นความรู้สึก ครับ)

หมายเหตุ: วิธีการในบทความนี้ เป็นการสังเกตผลจากตัวผมเอง ไม่มีทฤษฏีหรือเอกสารทางวิชาการอ้างอิงหรือรับรองนะครับ ถ้าใครทำตามแล้วได้ผลก็ดีใจด้วย แต่ถ้าไม่ได้ผลก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ

ขั้นตอนการลดแสงสีฟ้า (Blue light) บนสมาร์ทโฟน Android

วิธีการเปิดแสงสีฟ้าบนสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทำได้โดยการเปิดใช้ Blue light filter ตามขั้นตอนดังนี้

1. บนหน้าจอ Home ให้แตะไอคอน Apps

2. บนหน้าจอ Apps แตะไอคอน Settings

3. บนหน้าจอ SETTINGS แตะ Display

4. บนหน้าจอ DISPLAY แตะ Blue light filter จากนั้นเลือกทำตามข้อ 5 หรือ 6 หรือ 7 ตามรูปแบบการเปิด Blue light filter ที่ตรงกับความต้องการ

5.1

5. กรณีต้องการเปิด Blue light filter ตลอดเวลา – บนหน้าจอ BLUE LIGHT FILTER ให้ทำการตั้งค่า Turn on now เป็น On เสร็จแล้วปิดหน้าจอ Settings

6. กรณีต้องการให้ Blue light filter ทำงาน (On) อัตโนมัติในเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก และปิด (Off) อัตโนมัติในเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้น – บนหน้าจอ BLUE LIGHT FILTER ให้ทำการตั้งค่า Turn on as scheduled เป็น On แล้วเลือก Sunset to sunrise เสร็จแล้วปิดหน้าจอ Settings

ข้อ 5.2 นี้ จะต้องเปิดบริการ Location ด้วยนะครับ

7. กรณีต้องการกำหนดเวลาเอง – บนหน้าจอ BLUE LIGHT FILTER ให้เลื่อนการตั้งค่า Turn on as scheduled เป็น On จากนั้นเลือก Custom schedule

8. แตะ Start time (ดูรูปในข้อที่ 7 ประกอบ) แล้วเลือกเวลาที่ต้องการเปิดใช้ Blue light filter เสร็จแล้วแตะ DONE

9. แตะ End time (ดูรูปในข้อที่ 7 ประกอบ) แล้วเลือกเวลาที่ต้องการปิด Blue light filter เสร็จแล้วแตะ DONE

10. ปิดหน้า Settings

สรุป

โดยส่วนตัวแล้ว หลังจากทำการเปิดใช้ Blue light filter ผมะรู้สึกสบายตามากขึ้นเมื่อต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ อย่างไรก็ตาม (ย้ำ!) วิธีดีที่สุดในการป้องกันการระคายเคืองตาจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต คือ อย่าใช้งานโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อย่าเล่นโทรศัพท์มือถือในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน แต่ถ้าวิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นไปไม่ได้สำหรับคุณ การเปิดใช้ Blue light filter อาจเป็นคำตอบสำหรับช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองตาที่มีสาเหตุมาจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ครับ

สำหรับผู้ใช้ Windows 10 อ่าน วิธีลดแสงสีฟ้า (Blue light) บน Windows 10

รายละเอียดเพิ่มเติม
สำหรับผู้อ่านที่อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากแสงสีฟ้า สามารถเข้าไปอ่านได้ตามลิงก์ด้านล่างครับ

อันตรายจากแสงสีฟ้า
ทำความรู้จัก ‘แสงน้ำเงิน’ ภัยร้ายใกล้ตัว! คนเสพติดเทคโนโลยี
เลิกจ้องจอในที่มืดได้แล้ว! เพราะ ‘แสงสีฟ้า’ อันตรายต่อดวงตาเกินคาดคิด

ประวัติการปรับปรุงบทความ
21 พฤษภาคม 2561: แก้ไขคำผิด
20 พฤษภาคม 2561: เผยแพร่ครั้งแรก

Android Download
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.