ปกติแล้วผมจะทำการเช็คพ้อยน์ (Checkpoint)* คอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) เก็บไว้ทุกครั้งก่อนทำการติดตั้งอัพเดตความปลอดภัยหรือติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม เผื่อว่าถ้าเกิดอุปัทวเหตุที่คาดไม่ถึงจะได้ย้อนสถานะกลับไปยังจุดที่ไม่มีปัญหาได้ โดยการย้อนกลับไปยังเช็คพ้อยน์นั้นทำได้ 2 แบบ คือ การประยุกต์ใช้ (Apply) และการกลับสู่สภาพเดิม (Revert) แล้วทั้ง 2 วิธีนี่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? ผมมีรายละเอียดมาฝากครับ
*สแนปช็อต (Snapshot) สำหรับ Hyper-V บน Windows Sever 2012 หรือเก่ากว่า หรือเช็คพ้อยน์ (Checkpoint) สำหรับ Hyper-V บน Windows Sever 2012 R2 หรือใหม่กว่า เป็นคุณสมบัติที่ให้ผู้ดูแลระบบใช้บันทึกการตั้งค่า (Configuration) และสถานะ (State) ของคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ณ จุดที่ต้องการ
รูปที่ 1: Checkpoint
รูปที่ 2: Snapshot
Apply vs Revert
ไมโครซอฟท์ไม่ได้ตั้งชื่อคุณสมบัติ 2 ตัวนี้ต่างกันโดยปราศจากเหตุผล เพราะแม้ว่าการประยุกต์ใช้และการกลับสู่สภาพเดิมนั้นมีการทำงานที่ใกล้เคียงกันมากแต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว โดยการประยุกต์ใช้นั้นใช้สำหรับย้อนคอมพิวเตอร์เสมือนไปยังเช็คพ้อยน์ใดๆ ก็ได้ ส่วนการกลับสู่สภาพเดิมนั้นเป็นการประยุกต์ใช้กรณีพิเศษนั่นคือการย้อนคอมพิวเตอร์เสมือนไปยังเช็คพ้อยน์ล่าสุด
เพื่อให้เห็นภาพการทำงานได้อย่างชัดเจนผมขอยกตัวอย่างดังนี้
คอมพิวเตอร์เสมือน Windows 10 Insider Preview มีเช็คพ้อยน์ 3 จุด (ดังรูปด้านล่าง) และต้องการย้อนกลับไปยังเช็คพ้อยน์ตามเงื่อนไขดังนี้
รูปที่ 3: Virtual Machine
1. ย้อนกลับไปเช็คพ้อยน์ Windows 10 Build 10122
ทำได้โดยใช้การประยุกต์ใช้โดยการคลิกขวาบนเช็คพ้อยน์ Windows 10 Build 10122 จากนั้นคลิก Apply
รูปที่ 4: Apply Checkpoint
2. ย้อนกลับไปเช็คพ้อยน์ Windows 10 Build 10130
ทำได้ทั้งการประยุกต์ใช้ (ตามวิธีการด้านบน) และการกลับสู่สภาพเดิมโดยการคลิกขวาบนคอมพิวเตอร์เสมือนที่ต้องการจากนั้นคลิก Revert เพื่อย้อนสถานะกลับไปยังเช็คพ้อยน์ล่าสุด (คือ Windows 10 Build 10130)
รูปที่ 5: Revert
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการใช้งาน Apply และ Revert บน Hy-per-V และข้อแตกต่างของทั้ง 2 คุณสมบัติที่นำมาฝากในวันนี้ครับ
ข้อมูลอ้างอิง
Virtualization Admin.com