Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

การซิงค์เวลา Windows 10 กับ Domain Controller

DefiniBy DefiniMay 6, 2019No Comments1 Min Read

การตรงเวลาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตการทำงานรวมถึงในระบบคอมพิวเตอร์ โดยโพสต์นี้ ผมมีวิธีแก้ปัญหาเวลาบนเครื่องลูกข่าย Windows 10 ไม่ตรงกับเวลาบนเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) มาแบ่งปันครับ

ปัญหาเวลาเครื่องลูกข่าย Windows 10 ไม่ตรงกับเวลาเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์

ในสภาพแวดล้อมแบบแอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมน (Active Directory Domain) นั้น ปกติแล้วเครื่องลูกข่าย Windows 10 ที่เป็นสมาชิกโดเมนจะซิงค์เวลากับโดเมนคอนโทรลเลอร์ โดยอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ เวลาของเครื่องลูกข่ายไม่ตรงกับเวลาของเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์ ซึ่งเคสที่ผมเคยเจอคือ แบตเตอรี่ของเมนบอร์ดเครื่องลูกข่ายเสื่อมทำให้เวลาในไบออสช้ากว่าปกติ

สำหรับวิธีการแก้ปัญหาเวลาบนเครื่องลูกข่ายไม่ตรงกับเวลาบนเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์ นั้นทำได้โดยการซิงค์เวลาแบบแมนนวลเพื่อให้เวลาตรงกัน

การซิงค์เวลาเครื่องลูกข่าย Windows 10 กับ Domain Controller แบบแมนนวล

การซิงค์เวลาเครื่องลูกข่าย Windows 10 กับโดเมนคอนโทรลเลอร์นั้นทำได้โดยรันคำสั่ง NET TIME /DOMAIN:FQDN_ของ_แอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมน /SET (ตัวเล็ก- ตัวใหญ่ไม่มีผลต่อการทำงาน)  ที่คอมมานด์พรอมท์ (Command prompt)

เมื่อ FQDN_ของ_แอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมนคือชื่อเต็ม (Fully qualified domain name๗ ของแอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมนที่เครื่องลูกข่ายเป็นสมาชิกอยู่

สำหรับวิธีทำดูได้จากตั้งอย่างด้านล่าง

ตัวอย่าง: เครื่องลูกข่าย Windows 10 เป็นสมาชิก AD Domain ชื่อ saranitus.com

การซิงค์เวลาแบบแมนนวลมีขั้นตอนดังนี้

1. ล็อกอินเข้าเครื่องลูกข่าย Windows 10 ด้วยบัญชีผู้ใช้ที่เป็นแอดมินของโดเมน (Domain Admins)

2. พิมพ์ cmd ในช่อง Type here to search ของ Cortana จากนั้นคลิกขวา Command Prompt จากผลการค้นหาแล้วเลือก Run as administrator

3. บนหน้า User Account Control ให้คลิก Yes

4. ในหน้าต่าง Command Prompt ให้ทำการรันคำสั่ง net time /domain:saranitus.com /set

5. ในหน้าต่าง Command Prompt กดปุ่ม Y เพื่อยืนยันการการซิงค์เวลา

6. ปิดหน้าต่าง Command Prompt เพื่อจบการทำงาน

ทิป: กรณีต้องการเก็บคำสั่งไว้ใช้งานในอนาคตหรือนำไป.ช้งานบนเครื่องลูกข่ายเครื่องอื่น ๆ สามารถทำเป็นไฟล์แบทช์ไฟล์ (ไฟล์นามสกุล .bat) ในรูปแบบด้านล่าง

@ECHO ON

net time /domain:saranitus.com /set

rem ***การใช้จริงให้เแทนที่ saranitus.com ด้วยชื่อโดเมนจริงก่อน***

pause

rem ***คำสั่ง pause ใช้หยุดทำงานชั่วตราวเพื่อดูผลการทำงาน – กดปุ่ม Enter เพื่อทำงานต่อ***

shutdown -f -s -t 1

rem ***shutdown -f -s -t 1 สั่งปิดเครื่องหลังทำงานแล้วเสร็จ – ใช้ -l ถ้าต้องการแค่ิออกจาก Windows 10***

แหล่งอ้างอิง
Microsoft

ประวัติการปรับปรุงบทความ
6 พฤษภาคม 2562: เผยแพร่ครั้งแรก

How-to Operating System System Administrator Tips Windows 10 Windows Server 2012 Windows Server 2016
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.