โดยปกติแล้วเราสามารถคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) บน Hyper-V ได้ทั้งการใช้ Hyper-V Manager ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบกราฟิก (อ่านวิธีใช้ที่นี่) และ PowerShell ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบบรรทัดคำสั่ง ซึ่งบทความนี้ผมมีวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนใหม่บน Hyper-V ด้วย PowerShell มาฝากเพื่อให้ท่านที่สนใจใช้เป็นแนวทางในการจัดการ Hyper-V (โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งาน Hyper-V บน Server Core) ครับ
Browsing: Microsoft
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดต (หรือ patch หรือ hotfix) KB3055415 เพื่อแก้ปัญหาหน้าจอล็อค (Lock screen) ของ Windows 10 Technical Preview Build 10061 เป็นหน้าจอดำ โดยแจกจ่ายอัพเดตดังกล่าวนี้ให้ผู้ใช้ผ่านทาง Windows Update
ผมมีโอกาสได้ทำการอัพเกรดเครื่องเซิร์ฟเวอร์* Windows Server 2012 เวอร์ชัน Standard ซึ่งติดตั้งแบบ Server with a GUI ไปเป็น Windows Server 2012 R2 แบบ In-place จึงนำประสบการณ์การดังกล่าวมาแบ่งปันกับผู้อ่าน การอัพเกรดมีขั้นตอนแบบไหน อย่างไร เชิญอ่านรายละเอียดได้จากด้านครับ
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน Windows คือต้องใช้รหัสผ่าน (Password) และต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ ข้อแรกนั้นผมคิดว่าส่วนใหญ่ปฏิบัติกันอยู่แต่ข้อหลังคงมีไม่มากที่ปฏิบัติตามทั้งๆ ที่การเปลี่ยนรหัสผ่านไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด โดยสามารถทำได้ทั้งวิธีแบบกราฟริก (GUI) และแบบบรรทัดคำสั่ง (Command line) ซึ่งวิธีการแรกนั้นผมได้แนะนำไปแล้วก่อนหน้านี้ [อ่านรายละเอียด] ดังนั้นบทความนี้ผมจะแนะนำการเปลี่ยนรหัสผ่าน Windows ด้วยบรรทัดคำสั่งให้ได้ทราบกันครับ
Windows PowerShell 4.0 (ขอเรียกสั้นๆ ว่า PowerShell 4.0 เพื่อความสะดวกครับ) เป็นหนึ่งในบรรดาคุณสมบัติใหม่ที่มีใน Windows 8.1 ซึ่งมีคุณสมบัติใหม่หลายอย่าง (อ่านได้จากข้อมูลอ้างอิง) แต่ถ้าท่านกำลังใช้ Windows 7 ท่านไม่จำเป็นต้องอัพเกรดเป็น 8.1 เพื่อให้ได้ใช้งาน PowerShell 4.0 เนื่องจากไมโครซอฟท์ออกเวอร์ชันสำหรับ Windows 7 ด้วยเช่นกัน ถ้าคุณสนใจสามารถอ่านวิธีการติดตั้งได้จากด้านล่างครับ
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดต Windows 10 Technical Preview ตัวใหม่เป็น Build 10061 หลังจากจากออก Build 10049 (ออก 31 มีนาคม 2558 ตามเวลาในประเทศไทย) ได้ 3 สัปดาห์ Build 10061 เพิ่มแอปใหม่ Mail และ Calendar ปรับปรุงการทำงานเมนูเริ่ม (Start), แถบงาน ( Taskbar), ศูนย์ปฏิบัติการ (Action Center) เป็นต้น
เนื่องจากผมจำเป็นต้องใช้โปรแกรมตัวหนึ่งที่ต้องรันจากโฟลเดอร์ระบบของ Windows (ซึ่งโดยทั่วไปคือ C:\Windows\System32) แต่ด้วยที่ไม่ต้องการติดตั้งโปรแกรมทั้งหมด (ไม่อยากเสียเวลาดาวน์โหลดและติดตั้งนะครับ) ผมจึงพยายามทำการคัดลอกเฉพาะไฟล์ที่ต้องการใช้งานโดยใช้ File Explorer แต่ปรากฏว่าระบบไม่ยอมโดยแสดงหน้าต่าง Destination Folder Access denied (ดูรูปด้านล่างประกอบ) จากนั้นผมจึงทดลองทำการคัดลอกโดยใช้คำสั่ง Copy จากพร้อมท์คำสั่งด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบปรากฏว่าได้ผลครับ
ผมประสบปัญหาการลงชื่อเข้าคอมพิวเตอร์ Windows 7 ซึ่งเข้าร่วมโดเมนโดยใช้บัญชีผู้ใช้บนโดเมนไม่ได้ โดยเมื่อผมพยายามลงชื่อจะได้ข้อความผิดพลาดว่า The trust relationship between this workstation and the primary domain failed โชดดีที่ยังจำรหัสผ่านผู้ดูแลระบบบนเครื่องได้ไม่งั้นคงไม่แคล้วต้องลง Windows ใหม่ และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับท่านที่พบปัญหาดังกล่าวนี้ ผมรวมวิธีการแก้ไขมากฝากครับ
สำหรับผู้ที่ติดตั้ง Windows Server Technical Preview Build 9841 ถึงตอนนี้คงจะเริ่มได้รับข้อความแจ้งเตือนว่า Windows กำลังจะหมดอายุใช้งานในวันที่ 15 เมษายน 2558 ที่จะถึงนี้ ซึ่งบางท่านอาจเกิดคำถามว่า ถ้าต้องการใช้งานต่อไปทำได้หรือไม่? ถ้าได้ต้องทำอย่างไร? คำตอบของคำถามแรกคือทำได้ครับ สำหรับวิธีขยายเวลาใช้งานนั้นมีขั้นตอนตามรายละเอียดด้านล่างครับ
ถึงตอนนี้ผมคิดว่าท่านที่ติดตั้ง Windows 10 Technical Preview ส่วนใหญ่น่าจะอัพเดตเป็น Build 10049 ซึ่งเป็นบิลด์อย่างเป็นทางการตัวล่าสุดกันเรียบร้อยแล้ว (ถ้าใครยังใช้บิลด์เก่ากว่าอ่านวิธีอัพเดต ที่นี่ ครับ) แต่เนื่องจากเวอร์ชัน Preview นั้นเป็นตัวทดสอบไมโครซอฟท์จึงตั้งวันหมดอายุใช้งาน (License expires) ไว้ อย่างไรก็ตามแต่ละบิลด์จะมีวันหมดอายุใช้งานไม่พร้อมกัน ส่วนบิลด์ใดจะหมดอายุใช้งานวันไหนและเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วมีผลกระทบอย่างไร เชิญอ่านได้จากรายละเอียดด้านล่างครับ