สวัสดีครับ ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำ Remote Server Administration Tools (RSAT) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้จัดการ Windows Server จากระยะไกลด้วยเครื่องลูกข่ายคอมพิวเตอร์ Windows ไปแล้ว (อ่านได้ที่นี่) ซึ่งอาจจะมีบางคนสงสัยว่าแล้ว RSAT นั้นแตกต่างกับลูกข่ายเดสก์ท็อประยะไกล (Remote Desktop Client หรือ RDC) อย่างไร? วันนี้ผมจึงทำการเปรียบเทียบจุดเด่นและจุดด้อยของเครื่องมือ 2 ตัวนี้ เพื่อให้ท่านที่เป็นผู้ดูแลระบบ Windows Server ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกใช้งานต่อไปครับ
Browsing: Microsoft
สวีสดีครับ หลังจากปล่อยให้สาวกรอมานานในที่สุดไมโครซอฟท์ก็ออก Windows 10 Technical Preview Build 10041 อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 (ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา) โดย Build 10041 นี้มีทั้งปรับปรุงการทำงาน คุณสมบัติใหม่ และการแก้ไขบั๊กต่างๆ แต่จะออกผ่านทาง Windows Update เท่านั้น และเฉพาะผู้ใช้ที่ตั้งค่าวงแหวน (Ring) เป็น Fast เท่านั้นที่จะสามารถอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดนี้ได้ ส่วนผู้ที่ตั้งค่าวงแหวนเป็น Slow จะต้องรอต่อไปอีกระยะจึงจะสามารถอัพเดตเวอร์ชันใหม่ได้ ส่วนไฟล์ไอเอสโออิมเมจนั้นคาดว่าออกพร้อมกับการออกอัพเดตสำหรับวงแหวน Slow ครับ
สวัสดีครับ ตามปกติแล้วผมจะจัดการ Windows Server จากระยะไกลโดยการใช้ Remote Server Administration Tools หรือ RSAT ซึ่งมันได้จัดเตรียมเครื่องมือทั้งแบบกราฟิกและบรรทัดคำสั่งสำหรับจัดการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น Server Manager เป็นต้น ไว้บนเครื่องลูกข่าย Windows และเนื่องจากเครื่องมือเหล่านั้นเหมือนกับที่มาพร้อม Windows Server ซึ่งคุ้นเคยเป็นอย่างดี ผมจึงไม่ต้องเรียนรู้การใช้งานใหม่ทำให้การจัดการเซิร์ฟเวอร์ทำได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ถึงตรงนี้คิดว่าผู้อ่านหลายท่านคงอยากใช้ RSAT ขึ้นมาบ้างแล้วเพราะดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อนและคงใช้งานได้ไม่ยาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้งาน RSAT นั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะการใช้งานแบบกลุ่มงาน (Workgroup) ซึ่งต้องทำการตั้งค่าทั้งบนเครื่องลูกข่ายและแม่ข่ายหลายอย่างด้วยกัน มีอะไรบ้าง? อ่านได้จากด้านล่างครับ
ผมยังจำได้ถึงความยุ่งยากในการเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีบน Windows XP เนื่องจาก Windows XP นั้นไม่มีโปรแกรมเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจในตัว ทำให้ต้องหาโปรแกรมเธิร์ดปาร์ตี้มาใช้งานกันวุ่นวาย แต่นับจาก Windows 7 หรือใหม่กว่า ไมโครซอฟท์ได้เพิ่มโปรแกรมเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจเข้าใน Windows ซึ่งทำให้การเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก
ผมมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ Windows อยู่ในความดูแลอยู่หลายตัว โดยมีบางตัวที่ต้องทำการปิดเครื่องหลังเวลาเลิกงานทุกวัน แต่การเดินไปปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทีละเครื่องนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกและยังเพิ่มภาระงานให้กับผู้ดูแลระบบ (นั่นคือตัวผมเอง) อีกด้วย ดังนั้นเพื่อลดภาระงาน (ที่ไม่จำเป็น) และเพิ่มความสบายให้ตัวเอง ผมจึงใช้วิธีการตั้งเวลาปิดเครื่องด้วย Task Scheduler ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและยังไม่ต้องใช้โปรแกรมใดๆ อีกด้วย
อัพเดต: ไมโครซอฟท์ ยกเลิกให้ดาวน์โหลด Office 2013 เวอร์ชัน Office 365 ProPlus แล้ว มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป โดยผู้ใช้สามารถติดตั้ง Office 2016 ได้จากหน้าดาวน์โหลดของ Office 365 ได้ตามปกติ สวัสดีครับ วันนี้ผมมีวิธีการติดตั้ง Office 2013 บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป Windows 8.1 มาฝากผู้ใช้ Office 365 Education ครับ สำหรับโปรแกรมที่ติดตั้งประกอบด้วย Word, Excel, PowerPoint, Outlook, OneNote, Publisher และ Access ซึ่งเนื้อหาต่อเนื่องมาจากเรื่อง ลงทะเบียนขอใช้ Office 365 Education
สวัสดีครับ ในขณะที่ผมเขียนเรื่องนี้ (7 มีนาคม 2558) Windows 10 เวอร์ชัน Technical Preview ตัวล่าสุดที่ออกอย่างเป็นทางการยังคงเป็น Build 9926 แต่คาดว่าไมโครซอฟท์จะออกเวอร์ชัน (Build) ใหม่ในเร็วๆ นี้ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับเวอร์ชันใหม่ที่กำลังจะมา วันนี้ผมจึงมีวิธีการตั้งค่า Windows 10 Technical Preview ให้ทำการติดตั้งเวอร์ชันใหม่ในทันทีที่ออกมาฝากครับ
สวัสดีครับ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้เปิดให้นักเรียนและครูอาจารย์ทั่วโลกลงทะเบียนเพื่อใช้งาน Office 365 Education ซึ่งให้ใช้งาน Word, Excel, PowerPoint, Outlook, OneNote, Publisher และ Access ได้ฟรีทั้งบนพีซีและ Mac สูงสุด 5 เครื่อง รวมถึงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ และเนื่องจากผมมีโอกาสลงทะเบียนบริการดังกล่าวเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำประสบการณ์มาแบ่งปันเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูหรือบุคลากรทางการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการลงทะเบียนขอใช้ Office 365 Education ต่อไปครับ
สวัสดีครับ ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำ วิธีการสร้างตัวติดตั้ง Windows 8.1 ด้วย USB/DVD Download Tool ซึ่งวิธีการดังกล่าวใช้ได้ในกรณีที่เรามีไฟล์ไอเอสโออิมเมจ Windows 8.1 อยู่ก่อนแล้ว มาวันนี้ผมมีวิธีการสร้างตัวติดตั้ง Windows 8.1 โดยการดาวน์โหลดจากไมโครซอฟท์มาฝากซึ่งวิธีการนี้ไม่ต้องใช้ไฟล์ไอเอสโออิมเมจแต่อย่างใดครับ
โดยทั่วไปแล้วผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะแนะนำให้เปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) ระบบคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยทุก 30 – 90 วัน) สำหรับ Windows Server นั้นระบบจะแจ้งเตือนให้เปลี่ยนรหัสผ่านเมื่อใช้งานครบ 42 วัน ส่วน Windows Client นั้นไม่มีการแจ้งเตือนดังกล่าวจึงทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำการเปลี่ยนรหัสผ่านส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามมา ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยผู้ใช้ Windows ควรทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ ซึ่งวิธีการทำนั้นไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใดครับ