Browsing: Operating System

เมื่อครั้งไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะออก Preview Build ให้ Insider ที่ตั้งค่าวงแหวนเป็น Fast* เร็วขึ้นนั้นผมไม่คิดว่าจะเร็วขนาดออกทุกสัปดาห์แบบนี้ โดยล่าสุด (27 มกราคม 2559) ได้ออก Windows 10 Insider Preview Build 14251 เวอร์ชันทดสอบตัวที่ 3 ของปี 2559 และออกหลังจาก Build 11102 เพียง 6 วัน และถึงแม้ว่าหมายเลขบิลด์จะกระโดดจาก 11102 เป็น 14251 แต่เป็นเพียงการปรับให้สอดคล้องกับเวอร์ชันโมบายล์เท่านั้นโดยไม่มีนัยสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงการทำงาน บิลด์ 14251 นี้มีเพียงการปรับปรุงการทำงานทั่วไปและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่พบในบิลด์ก่อนหน้าโดยเฉพาะบั๊กที่กระทบกับเกมส์เวอร์ชันพีซี

ผมคิดว่าผู้ดูแลระบบที่อัพเดต Windows 10 ผ่านทาง Windows Server Update Service (WSUS) คงจะพบปัญหา WSUS Server แสดงชื่อเวอร์ชันของ Windows 10 ผิดเช่นเดียวกับผม คือ แทนที่จะแสดงเป็น Windows 10 แต่กลับแสดงเป็น Windows Vista (ดูรูปด้านล่างประกอบ) ซึ่งบทความนี้ผมมีวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาฝากครับ

ไมโครซอฟท์เริ่มใช้นโยบายออก Preview Build ให้ Insider ที่ตั้งค่าวงแหวนเป็น Fast* เร็วขึ้นแล้ว โดยการออก Windows 10 Insider Preview Build 11102 ซึ่งเป็นเวอร์ชันทดสอบตัวที่ 2 ของปี 2559 และออกหลังจาก Build 11099 เพียง 8 วัน ในบิลด์นี้มีความเปลี่ยนแปลงจากบิลด์ก่อนหน้ามากกว่า 1,200 จุด ด้วยกันแต่มีเพียงบางความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่สังเกตเห็นได้อ้างอิงตามข้อความทวีตของ Gabriel Aul

บทความนี้เป็นการสาธิตการคอนฟิก Computer Groups บน Windows Server Update Services (WSUS) ที่ติดตั้งบน Windows Server 2012 R2 แบบ Step by Step ซึ่งเนื้อหาต่อเนื่องมาจากเรื่อง การคอนฟิก Windows Server Update Services ที่ได้โพสต์ก่อนหน้านี้ครับ

ผมเคยโพสต์บทความเกี่ยวข้องกับ Windows Server Update Service (WSUS) ไปหลายเรื่องแต่ยังไม่ได้แนะนำ WSUS อย่างป็นทางการ ดังนั้นจึงตั้งใจว่าจะเขียนเรื่อง WSUS แบบซีรีย์ตั้งแต่แนะนำ การติดตั้ง การคอนฟิกระบบ ไปจนถึงการจัดการการแจกจ่ายการปรับปรุง (Updates) ให้กับเครื่องลูกข่าย Windows โดยเริ่มต้นตอนที่ 1 ด้วยเรื่อง “แนะนำ WSUS” ครับ

ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 11099 (ออก 13 มกราคม 2559 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา) ให้ Insider ที่ตั้งค่าวงแหวนเป็น Fast* บิลด์ 11099 เป็นเวอร์ชันทดสอบตัวแรกของปี 2559 แต่ถ้าใครคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในเวอร์ชันนี้คงต้องผิดหวังเพราะมีเพียงการปรับปรุงการทำงานทั่วไปและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่พบในบิลด์ก่อนหน้าเท่านั้น

ไมโครซอฟท์ออกการปรับปรุง Cumulative update for Windows 10 Version 1511: January 12, 2016 (KB3124263) ซึ่งเป็นการปรับปรุงความปลอดภัยและการทำงานทั่วไป โดยหลังจากทำการติดตั้ง Windows 10 Version 1511 (November Update) จะเปลี่ยนเป็น Build 10586.63

ในการใช้งาน Windows Server ที่ติดตั้งแบบ Server Core นั้นผมคิดว่าคงจะมีไม่น้อย ที่พบปัญหาปิดหน้าต่างคอมมานด์พรอมท์ (Command prompt) โดยไม่ตั้งใจ (ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น) ผลที่ตามมาคือหน้าจอกลายเป็นสีดำไม่มีอินเทอร์เฟซใดๆ ให้ใช้งาน สำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ทำได้ไม่ยากโดยการทำตามวิธีด้านล่างครับ

บทความนี้ผมจะสาธิตวิธีการตั้งค่า Windows 10 เพื่อให้รับการอัปเดตผ่านทาง Windows Server Update Services (WSUS) Server แทนการอัปเดตผ่านทางบริการ Windows Update ของไมโครซอฟท์ซึ่งเป็น Public Windows Update ที่ให้บริการแบบสาธารณะแก่ผู้ใช้บนอินเทอร์เน็ต ครับ

คิดว่าน่าจะมีผู้ใช้ Windows 10 จำนวนไม่น้อยที่รู้สึกว่าการเข้าถึง Control Panel ซึ่งเป็นแผงควบคุมแบบเดิม (หรือเรียกว่า Desktop app) นั้นทำได้ยากกว่า Windows เวอร์ชันก่อนหน้า สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะไมโครซอฟท์ต้องการ (ผลักดัน) ให้ใช้ Settings ซึ่งเป็น Windows Store app แทน แต่โชคไม่ดีที่การตั้งค่าบางอย่างทำได้เฉพาะจากแผงควบคุมแบบเดิมเท่านั้น บทความนี้ผมจึงรวบรวมวิธีที่ช่วยให้คุณทำการเปิดแผงควบคุมแบบเดิมได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาฝากครับ