สวัสดีครับ บทความนี้ผมรวบรวมมีคำสั่งหรือ cmdlet ของ PowerShell สำหรับใช้จัดการคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) บน Hyper-V ที่จะช่วยให้คุณจัดการระบบ Hyper-V ได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น คำสั่งเหล่านี้สามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows Server ที่ติดตั้งแบบ Server with a GUI หรือ Server Core ครับ
Browsing: Operating System
โดยปกติแล้วเราสามารถคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) บน Hyper-V ได้ทั้งการใช้ Hyper-V Manager ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบกราฟิก (อ่านวิธีใช้ที่นี่) และ PowerShell ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบบรรทัดคำสั่ง ซึ่งบทความนี้ผมมีวิธีการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนใหม่บน Hyper-V ด้วย PowerShell มาฝากเพื่อให้ท่านที่สนใจใช้เป็นแนวทางในการจัดการ Hyper-V (โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งาน Hyper-V บน Server Core) ครับ
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดต (หรือ patch หรือ hotfix) KB3055415 เพื่อแก้ปัญหาหน้าจอล็อค (Lock screen) ของ Windows 10 Technical Preview Build 10061 เป็นหน้าจอดำ โดยแจกจ่ายอัพเดตดังกล่าวนี้ให้ผู้ใช้ผ่านทาง Windows Update
ผมมีโอกาสได้ทำการอัพเกรดเครื่องเซิร์ฟเวอร์* Windows Server 2012 เวอร์ชัน Standard ซึ่งติดตั้งแบบ Server with a GUI ไปเป็น Windows Server 2012 R2 แบบ In-place จึงนำประสบการณ์การดังกล่าวมาแบ่งปันกับผู้อ่าน การอัพเกรดมีขั้นตอนแบบไหน อย่างไร เชิญอ่านรายละเอียดได้จากด้านครับ
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน Windows คือต้องใช้รหัสผ่าน (Password) และต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ ข้อแรกนั้นผมคิดว่าส่วนใหญ่ปฏิบัติกันอยู่แต่ข้อหลังคงมีไม่มากที่ปฏิบัติตามทั้งๆ ที่การเปลี่ยนรหัสผ่านไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด โดยสามารถทำได้ทั้งวิธีแบบกราฟริก (GUI) และแบบบรรทัดคำสั่ง (Command line) ซึ่งวิธีการแรกนั้นผมได้แนะนำไปแล้วก่อนหน้านี้ [อ่านรายละเอียด] ดังนั้นบทความนี้ผมจะแนะนำการเปลี่ยนรหัสผ่าน Windows ด้วยบรรทัดคำสั่งให้ได้ทราบกันครับ
วันนี้มีประสบการณ์เกี่ยวกับจัดการ Hyper-V ที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 ที่ติดตั้งแบบ Server Core โดยการใช้ Windows PowerShell แล้วเกิดข้อผิดพลาดว่า PowerShell ไม่รู้จักคำสั่ง หรือ cmdlet (อ่านว่า command-let) มาฝากครับ
Windows PowerShell 4.0 (ขอเรียกสั้นๆ ว่า PowerShell 4.0 เพื่อความสะดวกครับ) เป็นหนึ่งในบรรดาคุณสมบัติใหม่ที่มีใน Windows 8.1 ซึ่งมีคุณสมบัติใหม่หลายอย่าง (อ่านได้จากข้อมูลอ้างอิง) แต่ถ้าท่านกำลังใช้ Windows 7 ท่านไม่จำเป็นต้องอัพเกรดเป็น 8.1 เพื่อให้ได้ใช้งาน PowerShell 4.0 เนื่องจากไมโครซอฟท์ออกเวอร์ชันสำหรับ Windows 7 ด้วยเช่นกัน ถ้าคุณสนใจสามารถอ่านวิธีการติดตั้งได้จากด้านล่างครับ
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดต Windows 10 Technical Preview ตัวใหม่เป็น Build 10061 หลังจากจากออก Build 10049 (ออก 31 มีนาคม 2558 ตามเวลาในประเทศไทย) ได้ 3 สัปดาห์ Build 10061 เพิ่มแอปใหม่ Mail และ Calendar ปรับปรุงการทำงานเมนูเริ่ม (Start), แถบงาน ( Taskbar), ศูนย์ปฏิบัติการ (Action Center) เป็นต้น
เรื่องมีอยู่ว่าผมได้รับโทรศัพท์จากผู้ใช้ซึ่งพูดด้วยน้ำเสียงที่บ่งบอกว่ากำลังอยู่ในอาการตกใจว่าข้อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่องหายหมดซึ่งรวมถึงงานสำคัญที่ต้องส่งในเร็วๆ นี้ด้วย ได้ฟังแล้วผมเองพลอยตกใจตามไปด้วย คิดในใจว่าสงสัยจะโดนมัลแวร์อะไรเล่นงานเข้าให้ซะแล้ว และยิ่งตกใจเมื่อทราบว่าเขาไม่ได้ทำการสำรองข้อมูลเก็บไว้ที่อื่นเลย อย่างไรก็ตามหลังจากสอบถามรายละเอียดผมแน่ใจว่าข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่ Windows ไม่แสดงให้เห็นเท่านั้น
เนื่องจากผมจำเป็นต้องใช้โปรแกรมตัวหนึ่งที่ต้องรันจากโฟลเดอร์ระบบของ Windows (ซึ่งโดยทั่วไปคือ C:\Windows\System32) แต่ด้วยที่ไม่ต้องการติดตั้งโปรแกรมทั้งหมด (ไม่อยากเสียเวลาดาวน์โหลดและติดตั้งนะครับ) ผมจึงพยายามทำการคัดลอกเฉพาะไฟล์ที่ต้องการใช้งานโดยใช้ File Explorer แต่ปรากฏว่าระบบไม่ยอมโดยแสดงหน้าต่าง Destination Folder Access denied (ดูรูปด้านล่างประกอบ) จากนั้นผมจึงทดลองทำการคัดลอกโดยใช้คำสั่ง Copy จากพร้อมท์คำสั่งด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบปรากฏว่าได้ผลครับ