สวัสดีครับ วันนี้ผมมีวิธีการเซ็ตอัพ WiFi Hotspot บน Windows 8.1 เผื่อทำการแชร์ WiFi ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น พีซี หรือสมาร์ทโฟน มาฝาก เพื่อว่าใครตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องการต่ออุปกรณ์กับ WiFi พร้อมกันหลายตัวแต่ระบบเครือข่ายที่ใช้ไม่รองรับ (ผู้ให้บริการส่วนใหญ่กำหนดให้ใช้ได้ 1 บัญชีต่อ 1 อุปกรณ์) จะได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปครับ
Browsing: Operating System
วันนี้ผมมีวิธีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ Winodws 8.1 จากที่เข้าร่วมแอคทีฟไดเร็กตอรีโดเมน (Active Directory หรือ AD, ขอเรียกสั้นๆ ว่า โดเมน) กลับไปใช้งานแบบเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) มาฝากครับ
วันนี้ผมมีบทความมาฝากผู้ที่กำลังก้าวเป็นผู้ดูแลระบบหน้าใหม่ (สำหรับผู้ดูแลระบบหน้าเก่าคงทำเป็นกันแล้ว) เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ Windows 8.1 เข้าร่วมแอคทีฟไดเร็กตอรีโดเมน (Active Directory Domain หรือ AD Domain) ขอเรียกสั้นๆ ว่า โดเมน แต่ต้องขอออกตัวก่อนว่า #เนื้อหาในเรื่องนี้ยังไม่เจาะลึกไปถึงการสร้างระบบโดเมน# นะครับ
ผมตั้งใจจะเขียนเรื่อง August Update สำหรับ Windows 8.1 ตั้งแต่มันออกใหม่ๆ คือ เมื่อประมาณกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เนื่องด้วยเกิดปัญหาทางเทคนิค (ตามรายละเอียดด้านล่าง) จนทำให้ไมโครซอฟท์ต้องระงับการให้ติดตั้งชั่วคราว จึงทำให้ต้องรอการแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยก่อนซึ่งปัจจุบันไมโครซอฟท์ได้เปิดให้ติดตั้ง August Update อีกครั้งแล้ว
บทความนี้เป็นวิธีการจัดการบทบาท Hyper-V จากระยะไกลด้วยเครื่องพีซี Windows 8.1 ในสภาพแวดล้อมแบบกลุ่มงาน (Workgroup) ซึ่งสามารถใช้จัดการบทบาท Hyper-V บน Windows Server 2012 R2, Windows Server 2008 R2 และ Windows Server 2008 ได้ทั้งแบบที่ติดตั้ง Server Core และ Server with a GUI
บทความนี้ผมจะแสดงวิธีการติดตั้งบทบาท Hyper-V บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 ที่ติดตั้งแบบ Server Core เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจใช้งานระบบ Hyper-V โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน Server Core ได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปครับ
วันนี้ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการคอมพิวเตอร์ Windows 8.1 Update ด้วยนโยบายกลุ่ม (Group Policy) บนแอคทีฟไดเร็กตอรี่โดเมน (Active Directory Domain) มาแบ่งปันเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเผื่อว่าใครประสบสถานการณ์ลักษณะเดียวกัน หรือว่าจะนำไปประยุกต์ใช้งานหรือต่อยอดต่อไปก็ได้เช่นกันครับ
จากตอนที่แล้วในเรื่อง ตัวเลือกการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ผมได้แนะนำรูปแบบการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 พอสังเขปไปแล้ว (ใครยังไม่ได้อ่านแนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านก่อนครับ) และได้แจ้งให้ทราบแล้วว่าสามารถสวิทช์การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ได้ เช่น สวิทช์จาก Server with a GUI ไปเป็น Server Core เป็นต้น สำหรับในตอนนี้ผมจะแสดงวิธีสวิทช์การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ในลักษณะต่างๆ ให้ผู้อ่านได้ทราบและใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปครับ
การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 นั้น คุณสามารถเลือกได้ว่าจะทำการติดตั้งแบบ Server with a GUI หรือ Server Core โดยหลังจากนั้นถ้าคุณต้องการสวิทช์จาก Server with a GUI ไปเป็น Server Core หรือกลับกันนั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องทำการติดตั้งใหม่แต่อย่างใด และนอกจากการติดตั้ง 2 แบบที่กล่าวมาแล้วคุณยังสามารถสวิทช์ไปเป็นรูปแบบพิเศษที่เรียกว่า Minimal Server Interface ได้อีกด้วย แล้วการติดตั้งทั้ง 3 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร วันนี้ผมมีรายละเอียดเรื่องดังกล่าวมาแนะนำให้ได้ทราบกันครับ
หลังจากทำการ ติดตั้งและการเปิดใช้งาน Windows Server 2012 R2 Server Core เสร็จแล้ว จากนั้นผมทำการเปิดใช้งานเดสก์ท็อประยะไกล (Remote Desktop) เพื่อให้สามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกลได้ ซึ่งวิธีการทำนั้นไม่มีอะไรยุ่งยากและทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นเหมือนวันที่ทะเลสงบไร้คลื่นลม แต่แล้วเหมือนเกิดพายุใหญ่ในฉับพลันเมื่อผมพยายามทำการเชื่อมต่อเดสก์ท็อประยะไกลไปยังเซิร์ฟเวอร์แต่ปรากฏว่าเชื่อมต่อไม่ได้โดยไม่ทราบสาเหตุ?