Browsing: Windows 7 8 8.1

Windows 7, 8 และ 8.1

ผมประสบปัญหาการลงชื่อเข้าคอมพิวเตอร์ Windows 7 ซึ่งเข้าร่วมโดเมนโดยใช้บัญชีผู้ใช้บนโดเมนไม่ได้ โดยเมื่อผมพยายามลงชื่อจะได้ข้อความผิดพลาดว่า The trust relationship between this workstation and the primary domain failed โชดดีที่ยังจำรหัสผ่านผู้ดูแลระบบบนเครื่องได้ไม่งั้นคงไม่แคล้วต้องลง Windows ใหม่ และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับท่านที่พบปัญหาดังกล่าวนี้ ผมรวมวิธีการแก้ไขมากฝากครับ

สวัสดีครับ ผมเคยถามผู้ใช้ว่าคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้เป็นระบบปฏิบัติอะไร? ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่คงจะตอบได้ถูกต้องว่าใช้ Windows แต่เมื่อผมถามเจาะลึกลงไปว่า Windows ที่ใช้เป็นรุ่นไหน? เวอร์ชันอะไร? ปรากฏว่ามีน้อยคนที่ตอบได้ถูกต้อง ทั้งๆ ที่วิธีการดูข้อมูลเวอร์ชัน Windows นั้นไม่ได้ยุ่งยากและไม่มีอะไรซับซ้อนแต่ผู้ใช้ทั่วไปไม่ค่อยทราบ ดังนั้นวันนี้ผมจึงมีวิธีการดูข้อมูลเวอร์ชัน รุ่น และรายละเอียดอื่นๆ ของ Windows มาฝากผู้ที่ยังไม่ทราบเพื่อที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปครับ

ปัจจุบันมีข่าวภาพหรือวิดีโอส่วนตัวของบุคคลต่างๆ หลุดออกอินเทอร์เน็ตเกิดบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะหลุดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมสร้างผลกระทบกับคนที่ปรากฏในภาพหรือวิดีโอได้ไม่น้อย บางกรณีเป็นคดีความที่ทำให้เสียทั้งเงิน เวลา และที่สำคัญคือเสียชื่อเสียง สำหรับวิธีป้องปัญหาที่ดีทึ่สุดคือการป้องกันที่ต้นเหตุโดยไม่ถ่ายรูปหรือวิดีโอส่วนตัวที่ไม่เหมาะสม แต่ถ้าถ่ายไว้แล้วทำไงดี? ตอบแบบกำปั้นทุบดินคือ ก็ให้ลบมันทิ้งไปซะ แต่ถ้าหากลบทิ้งไปแล้วแต่ยังไม่มั่นใจกลัวมีคนมากู้ข้อมูลในภายหลังทำไงดี? ก็ให้ทำตามวิธีการที่ผมนำมาฝากวันนี้ ซึ่งรับรองว่าคุณจะลบข้อมูลได้อย่างหมดจดชนิดที่ใคร (รวมถึงตัวคุณเอง) ก็กู้คืนไม่ได้ครับ

สวัสดีและยินดีต้อนรับเข้าสู่ตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบของการจัดการดิสก์บน Windows Server 2012 R2 Server Core จากระยะไกลครับ โดยการจัดการดิสก์บน Server Core ด้วย Computer Management นั้นมีวิธีทำเหมือนการจัดการดิสก์บนเครื่อง Windows 7 หรือ 8/8.1 ตามปกติซึ่งคิดว่าทุกท่านคุ้นเคยเป็นอย่างดีหรืออย่างน้อยก็คงจะเคยใช้งานมากันบ้างแล้วดังนั้นคผมคิดว่าคงจะทำกันได้โดยไม่ยากเย็นอะไรนัก สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรกเข้าไปอ่านได้ ที่นี่ ครับ

สวัสดีครับ ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำ (เล่าประสบการณ์) การใช้งาน Windows Server 2012 R2 ที่ติดตั้งแบบ Server Core ไปแล้วหลายเรื่อง มาวันนี้ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการดิสก์ (Disk Management) มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ระบบ Windows ที่เพิ่งเริ่มต้นหรือกำลังวางแผนใช้งาน Server Core นำไปประยุกต์ใช้งานครับ

ปกติแล้วผมไม่ค่อยมีโชคลาภอะไรมากนัก แต่แล้ววันหนึ่งต้องดีใจจนแทบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เมื่อได้ลาภก้อนใหญ่เป็นคอมพิวเตอร์ 180 เครื่อง แต่ยังไม่ทันหายดีใจกับโชคชั้นที่ 1 ก็ต้องอึ้งกับโชคชั้นที่ 2 เมื่อเปิดเครื่องผลปรากฏว่าขึ้นหน้าจอสีดำพร้อมข้อความ This copy of Windows is not genuine ทุกเครื่อง เท่านั้นยังไม่พอเมื่อแทบช็อคกับโชคชั้นที่ 3 เพราะเมื่อทดลองเปิดใช้งาน (Activate Windows) Windows 7 ที่ติดตั้งบนเครื่องผลปรากฏว่าไม่สำเร็จแม้แต่เครื่องเดียว หลังจากรวบรวมสติได้จึงทำการตรวจสอบระบบจึงพบว่าหมายเลขผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นแบบ Multiple Activation Keys (MAK) จากนั้นจึงหาวิธีว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรจึงจะง่ายที่สุด (สบายตัวเองที่สุดนั่นแหละ) หลังจากบวกลบคูณหารของแต่ละวิธีก็ได้ข้อสรุปว่า การเปลี่ยนการเปิดใช้งาน Windows จากลูกข่าย MAK เป็น Key Management Service (KMS) เป็นวิธีการที่ง่ายและเร็วที่สุดครับ เนื่องจากผมมีระบบเซิร์ฟเวอร์ KMS อยู่แล้วครับ

โดยปกติแล้วเมื่อต้องการประชาสัมพันธ์ข่าวสารหรือประกาศต่างๆ ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความดูแลทราบ ผมจะใช้วิธีการเผยแพร่ข่าวสารเหล่านั้นบนเว็บไซต์จากนั้นจึงสั่งให้ Windows เปิดหน้าเว็บดังกล่าวโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้งานโดยใช้นโยบายกลุ่ม (Group Policy) ซึ่งจากที่ได้ใช้งานวิธีการนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่เป็นผู้ดูแลระบบจึงนำรายละเอียดวิธีการทำงานดังกล่าวมาฝากครับ

สวัสดีครับ ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำ Remote Server Administration Tools (RSAT) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้จัดการ Windows Server จากระยะไกลด้วยเครื่องลูกข่ายคอมพิวเตอร์ Windows ไปแล้ว (อ่านได้ที่นี่) ซึ่งอาจจะมีบางคนสงสัยว่าแล้ว RSAT นั้นแตกต่างกับลูกข่ายเดสก์ท็อประยะไกล (Remote Desktop Client หรือ RDC) อย่างไร? วันนี้ผมจึงทำการเปรียบเทียบจุดเด่นและจุดด้อยของเครื่องมือ 2 ตัวนี้ เพื่อให้ท่านที่เป็นผู้ดูแลระบบ Windows Server ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกใช้งานต่อไปครับ

ผมยังจำได้ถึงความยุ่งยากในการเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีบน Windows XP เนื่องจาก Windows XP นั้นไม่มีโปรแกรมเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจในตัว ทำให้ต้องหาโปรแกรมเธิร์ดปาร์ตี้มาใช้งานกันวุ่นวาย แต่นับจาก Windows 7 หรือใหม่กว่า ไมโครซอฟท์ได้เพิ่มโปรแกรมเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจเข้าใน Windows ซึ่งทำให้การเขียนไฟล์ไอเอสโออิมเมจลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก

ผมมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ Windows อยู่ในความดูแลอยู่หลายตัว โดยมีบางตัวที่ต้องทำการปิดเครื่องหลังเวลาเลิกงานทุกวัน แต่การเดินไปปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทีละเครื่องนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกและยังเพิ่มภาระงานให้กับผู้ดูแลระบบ (นั่นคือตัวผมเอง) อีกด้วย ดังนั้นเพื่อลดภาระงาน (ที่ไม่จำเป็น) และเพิ่มความสบายให้ตัวเอง ผมจึงใช้วิธีการตั้งเวลาปิดเครื่องด้วย Task Scheduler ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและยังไม่ต้องใช้โปรแกรมใดๆ อีกด้วย