Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

Windows 10 อัปเดต Group Policy ไม่ได้

DefiniBy DefiniMay 24, 2019No Comments1 Min Read

โพสต์นี้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการอัปเดต Group Policy บนเครื่องลูกข่าย Windows 10 ซึ่งเป็นสมาชิกแอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมน (Active Directory Domain) รวมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวมาแชร์ครับ

ปัญหาการอัปเดต Group Policy บนเครื่องลูกข่าย Windows 10

ปัญหาการอัปเดต Group Policy บนเครื่องลูกข่าย Windows 10 ที่ผมเจอนั้นมีรายละเอียดดังนี้

1. เครื่องลูกข่าย Windows 10 เป็นสมาชิกแอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมน

2. เมื่อพยายามทำการอัปเดต Group Policy บนเครื่องลูกข่าย Windows 10 แบบแมนนวล โดยการรันคำสั่ง gpupdate /force ที่คอมมานด์พร็อมท์ด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ

3. ได้รับข้อความว่า Computer policy cannot updated successfully. The following error were encountered. ตามรายละเอียดในรูปด้านล่าง

บางส่วนของมีข้อความที่ได้รับ (ส่วนที่ขีดเส้นใต้สีแดง)

because this computer’s clock is not synchronized with the clock of one of the domain controllers for the domain

สาเหตุ

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เครื่องลูกข่าย Windows 10 ไม่สามารถอัปเดต Group Policy ได้ตามรายละเอียดที่แสดงไว้ด้านบนนั้น เกิดจากเวลาของเครื่อง Windows 10 ไม่ตรงกับเวลาของเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์ (Domain Controller) ของโดเมน

วิธีการแก้ไขปัญหา

วิธีการแก้ไขปัญหาอัปเดต Group Policy เครื่องลูกข่าย Windows 10 ไม่ได้ ที่มีสาเหตุมาจากเวลาของเครื่องไม่ตรงกับเวลาของเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์ของโดเมนนั้น ทำได้โดยการซิงค์เวลาเครื่องลูกข่ายให้ตรงกับเวลาของเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์

วิธีการทำคือ ให้รันคำสั่ง NET TIME /DOMAIN:FQDN_ของ_แอคทีฟไดเร็กทอรีโดเมน /SET (สามารถใช้ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่) ที่คอมมานด์พรอมท์ ตามตัวอย่างด้านล่าง

net time /domain:saranitus.com /set

จากนั้นในหน้าต่าง Command Prompt กดปุ่ม Y เพื่อยืนยันการซิงค์เวลา

รูปด้านล่างแสดงผลการซิงค์เวลาเครื่องลูกข่ายกับโดเมนคอนโทรลเลอร์

อ่านรายละเอียด การซิงค์เวลา Windows 10 กับ Domain Controller

ผลการทำงาน

หลังจากทำการซิงค์เวลาเครื่องลูกข่าย Windows 10 ให้ตรงกับเวลาของเครื่องโดเมนคอนโทรลเลอร์ของโดเมนแล้ว จากนั้นเมื่อทำการรันคำสั่ง gpupdate /force (ที่คอมมานด์พร็อมท์ด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ) จะสามารถอัปเดตได้สำเร็จ

รูปด้านบนแสดงผลการรันคำสั่ง gpupdate /force หลังจากทำการซิงค์เวลาเครื่องลูกข่าย Windows 10 กับโดเมนคอนโทรลเลอร์

ประวัติการปรับปรุงบทความ
26 พฤษภาคม 2562: ปรับปรุงเนื้อหา
24 พฤษภาคม 2562: เผยแพร่ครั้งแรก

How-to Operating System System Administrator Tips Windows 10 Windows Server 2012 Windows Server 2016
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.