Close Menu
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
Facebook X (Twitter) Instagram
Trending
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
  • แนวทางการเลือกซื้อสว่านไร้สายและไขควงไร้สายสำหรับงาน DIY
  • รีวิว Makita DHP486 สว่านไร้สาย 3 ระบบ – เจาะ ไม้/เหล็ก/ปูน & ขันสกรู
  • XTAR VC4 ราคาหลักร้อย ชาร์จแบตเตอรี่พร้อมกัน 4 ก้อน
Facebook X (Twitter) Instagram
SARANITUS
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
SARANITUS
How-to

วิธีแก้ไขข้อผิดพลาด Code 800B0001 เมื่ออัพเดต Windows Server 2012 ผ่าน WSUS Server 3.0 SP2

DefiniBy DefiniNovember 1, 2015No Comments2 Mins Read

วันนี้ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการอัพเดตระบบ Windows ผ่านทาง Windows Server Update Services (WSUS) Server มาแชร์เพื่อให้ผู้ดูแลระบบที่ประสบปัญหาการใช้งานในลักษณะเดียวกันใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาครับ

เรื่องที่นำมาฝากในบทความนี้เป็นปัญหาการอัพเดต Windows ผ่านทาง WSUS Server 3.0 SP2 ซึ่งติดตั้งบน Windows Server 2008 R2 ปัญหาคือ เมื่อพยายามทำการอัพเดต Windows Server 2012 หรือใหม่กว่า และ Windows 8.1 หรือใหม่กว่าผ่านทาง WSUS Server จะเกิดความล้มเหลวโดยได้รับข้อความแสดงผิดพลาดดังนี้

Windows could not search for new updates
There was a problem checking for updates
Error(s) found:
Code 800B0001 Windows Update ran into a problem.

Windows Server 2012 – Windows Update Error(s) found: Code 800B0001

Windows 8.1 – Windows Update Error(s) found: Code 800B0001

สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด Error(s) found: Code 800B0001
สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด Error(s) found: Code 800B0001 เมื่อพยายามทำการอัพเดต Windows Server 2012 หรือใหม่กว่า และ Windows 8.1 หรือใหม่กว่า ผ่านทาง WSUS Server เกิดจาก WSUS Server ไม่รู้จักลูกข่าย Windows Update Agent (WUA) บนเครื่องพีซีลูกข่ายทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

วิธีการแก้ไข Error(s) found: Code 800B0001
วิธีการแก้ปัญหาเกิดข้อผิดพลาด Code 800B0001 ตามรายละเอียดด้านบน ทำได้โดยการติดตั้งการแก้ไข (Fix) หมายเลข An update for Windows Server Update Services 3.0 SP2 is available (KB2828185) หรือ An update to harden Windows Server Update Services (KB2938066) บน WSUS Server

สำหรับการติดตั้งการแก้ไขนั้นทำได้โดยได้การดับเบิลคลิกบนไฟล์ WSUS-KB2828185-amd64.exe (KB2828185) หรือ WSUS-KB2938066-amd64.exe (KB2938066) แล้วทำตามคำสั่งบนหน้าจอ โดยหลังจากติดตั้งแล้วเสร็จให้ทำการเริ่มต้นระบบ WSUS Server เพื่อให้การติดตั้งอัพเดตเสร็จสมบูรณ์

Windows Server Update Services 3.0 SP2 Setup completed successfully

KB2828185: จะทำการอัพเดต Windows Update Agent (WUA) บนเครื่องพีซีลูกข่ายโดยอัตโนมัติ และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ

KB2938066: จะทำการอัพเดต Windows Update Agent (WUA) บนเครื่องพีซีลูกข่ายโดยอัตโนมัติ และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงให้กับไฟล์ที่โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้โดย WSUS และเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงให้กับช่องการสื่อสารระหว่าง WSUS กับบริการ WU/MU

สำหรับลำดับการติดตั้งการแก้ไขนั้นแนะนำให้ติดตั้งการแก้ไข KB2828185 ก่อนเสร็จแล้วจึงติดตั้งการแก้ไข KB2938066 ครับ

การติดตั้งการแก้ไข KB293806 เครื่อง WSUS Server ของคุณจะอัพเกรดเป็นเวอร์ชัน 3.0 SP2 3.2.2600.274

WSUS Server 3.0 SP2 3.2.2600.274

การติดตั้งการแก้ไข KB293806 เครื่อง WSUS Server ของคุณจะอัพเกรดเป็นเวอร์ชัน 3.2.2600.262

หมายเหตุ: การแก้ไข KB2828185 จะรวมอัพเดต KB2734608 และ KB2720211 อยู่ในตัว

หลังจากทำการติดตั้งการแก้ไข KB2828185 เรียบร้อยแล้ว คุณจะสามารถทำการอัพเดต Windows Server 2012 หรือใหม่กว่าและ Windows 8.1 หรือใหม่กว่าผ่านทาง WSUS Server ได้ตามที่ควรจะเป็นครับ

รูปด้านล่างเป็นการติดตั้งอัพเดตบน Windows Server 2012

Windows Server 2012: Windows Update

รูปด้านล่างเป็นการติดตั้งอัพเดตบน Windows 8.1

Windows 8.1: Windows Update

สรุป
สำหรับผู้ใช้ Windows ในองค์กรที่ใช้การอัพเดตระบบผ่านทาง WSUS Server 3.0 SP2 บน Windows Server 2008 R2 และประสบปัญหาเกิดข้อผิดพลาด Code 800B0001 เมื่อสั่งอัพเดตเครื่องลูกข่ายสามารถแก้ไขได้โดยการติดตั้งการแก้ไข KB2828185 หรือ KB2938066 บนเซิร์ฟเวอร์ตามวิธีการด้านบนครับ

How-to Microsoft Operating System Step by Step System Administrator
Defini

Related Posts

ทดสอบแอปด้วย Sandbox บน Windows 10 เวอร์ชัน 1903

September 26, 2019

การเปิดหรือปิดการซิงค์ OneDrive บน Windows 10 เมื่อใช้ Metered connection

September 26, 2019

การใช้งาน OneDrive Basic หรือ Personal และ Business บน Windows 10 เครื่องเดียวกัน

September 25, 2019

Comments are closed.

Recent Posts
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Ads
Tags
Android Apps Battery Cloud Download Firefox Google Play How-to Hyper-V Internet Explorer IoT Microsoft MS Office & Office 365 OneDrive Operating System PowerShell Server Core Smartphone Step by Step System Administrator Tips Tutorials Virtualization Virtual Machine Windows 7 8 8.1 Windows 10 Windows Insider Windows Server 2012 Windows Server 2016
บทความล่าสุด
  • ย้ายตำแหน่ง Windows 11 Taskbar ไปอยู่ด้านซ้ายมือ
  • แก้ไขปัญหาไม่มี New Word Doc เมื่อเมนู Right click
  • รีวิว MAKITA DTD157 ไขควงกระแทกไร้สาย: ตัวเล็ก น้ำหนักเบา ตอบโจทย์งาน DIY
  • การลงทะเบียนสินค้ามากีต้า (Makita) ประเทศไทย
  • Panasonic eneloop (AA) 1.2V 1900 mAh แพงกว่า แล้วคุ้มไหม
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube
  • Home
  • Articles
  • About
    • Sitemap
  • Privacy Policy
© 2025 SARANITUS. All Rights Reserved.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.