Enhanced Mitigation Experience Toolkit 5.2 [12 มีนาคม 2558] ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตโปรแกรม Enhanced Mitigation Experience Toolkit 5.2 ซึ่งเวอร์ชันนี้ได้ทำการ อัพเดต Attack Surface Reduction (ASR) เพื่อลดพื้นหน้าของการโจมตี (attack surface) ของแอพพลิเคชันและลดการโจมตี, อัพเดต Export Address Table Filtering Plus (EAF+) เพื่อปรับปรุงและขยายการลดผลกระทบ, อัพเดต 64-bit ROP mitigations เพื่อการคาดการณ์ถึงเทคนิคการโจมตีช่องโหว่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังปรับปรุงด้านความปลอดภัย ความเข้ากันได้ และประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

บทความนี้ผมจะแสดงวิธีการติดตั้งบทบาท Hyper-V บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 ที่ติดตั้งแบบ Server Core เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจใช้งานระบบ Hyper-V โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน Server Core ได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปครับ

วันนี้ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการคอมพิวเตอร์ Windows 8.1 Update ด้วยนโยบายกลุ่ม (Group Policy) บนแอคทีฟไดเร็กตอรี่โดเมน (Active Directory Domain) มาแบ่งปันเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเผื่อว่าใครประสบสถานการณ์ลักษณะเดียวกัน หรือว่าจะนำไปประยุกต์ใช้งานหรือต่อยอดต่อไปก็ได้เช่นกันครับ

จากตอนที่แล้วในเรื่อง ตัวเลือกการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ผมได้แนะนำรูปแบบการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 พอสังเขปไปแล้ว (ใครยังไม่ได้อ่านแนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านก่อนครับ) และได้แจ้งให้ทราบแล้วว่าสามารถสวิทช์การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ได้ เช่น สวิทช์จาก Server with a GUI ไปเป็น Server Core เป็นต้น สำหรับในตอนนี้ผมจะแสดงวิธีสวิทช์การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ในลักษณะต่างๆ ให้ผู้อ่านได้ทราบและใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปครับ

การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 นั้น คุณสามารถเลือกได้ว่าจะทำการติดตั้งแบบ Server with a GUI หรือ Server Core โดยหลังจากนั้นถ้าคุณต้องการสวิทช์จาก Server with a GUI ไปเป็น Server Core หรือกลับกันนั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องทำการติดตั้งใหม่แต่อย่างใด และนอกจากการติดตั้ง 2 แบบที่กล่าวมาแล้วคุณยังสามารถสวิทช์ไปเป็นรูปแบบพิเศษที่เรียกว่า Minimal Server Interface ได้อีกด้วย แล้วการติดตั้งทั้ง 3 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร วันนี้ผมมีรายละเอียดเรื่องดังกล่าวมาแนะนำให้ได้ทราบกันครับ

หลังจากทำการ ติดตั้งและการเปิดใช้งาน Windows Server 2012 R2 Server Core เสร็จแล้ว จากนั้นผมทำการเปิดใช้งานเดสก์ท็อประยะไกล (Remote Desktop) เพื่อให้สามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกลได้ ซึ่งวิธีการทำนั้นไม่มีอะไรยุ่งยากและทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นเหมือนวันที่ทะเลสงบไร้คลื่นลม แต่แล้วเหมือนเกิดพายุใหญ่ในฉับพลันเมื่อผมพยายามทำการเชื่อมต่อเดสก์ท็อประยะไกลไปยังเซิร์ฟเวอร์แต่ปรากฏว่าเชื่อมต่อไม่ได้โดยไม่ทราบสาเหตุ?

หลังจากทำการติดตั้ง Windows แล้วเสร็จและทำการตั้งค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไปจะต้องทำการเปิดใช้งาน (Activate) ซึ่งตามปกติแล้วสามารถทำผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือเซิร์ฟเวอร์ KMS สำหรับบทความนี้ผมจะแสดงวิธีการเปิดใช้งาน Windows Server 2012 Server Core ซึ่งเป็นเนื้อหาต่อเนื่องจากเรื่อง การตั้งค่า Windows Server 2012 R2 Server Core ครับ

ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำวิธี การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 Server Core ซึ่งในการติดตั้งนั้นจะใช้ค่าที่กำหนดให้โดยปริยาย ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงเราจะต้องทำการปรับแต่งค่าต่างๆ เช่น ชื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Name) หมายเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) หรือ กลุ่มงาน (Workgroup) เป็นต้น ให้เป็นค่าที่เหมาะสมกับระบบที่ใช้งานจริง สำหรับการตั้งค่านั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการใช้ Server Configuration tool (Sconfig.cmd) ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบเมนูคำสั่งที่ไมโครซอฟท์จัดเตรียมไว้ให้ผู้ดูแลระบบใช้งานในการตั้งค่า Server Core เป็นการเฉพาะครับ

ประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2557 ที่ผ่านมาผมได้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเครื่องใหม่ถอดด้ามแทนเครื่องเก่า (OS: Windows 7) ที่ใช้งานอย่างไม่เคยเกเรมาตลอดเวลากว่า 3 ปี แต่เมื่อใช้เครื่องใหม่ได้ 2-3 วัน (เครื่องยังไม่ทันหมดกลิ่นใหม่ 555) เกิดงานเข้าเต็มๆ เมื่อเครื่องเริ่มมีอาการแปลกๆ คือ เครื่องค้าง/จอดำ ไปอย่างไม่มีปีมีขลุ่ย

บทความนี้เป็นรายละเอียดการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 แบบ Server Core Installation ครับ ซึ่ง Server Core นั้นเป็นโหมดที่ไม่มีระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) ดังนั้นการตั้งค่าและการจัดการ Server Core จะต้องใช้บรรทัดคำสั่ง, Windows PowerShell หรือการจัดการจากระยะไกลโดยใช้เครื่องมือ Microsoft Management Console (MMC), Server Manager หรือ Remote Server Administration Tools (RSAT) เป็นต้น (บทความนี่ยังไม่ลงลึกเกี่ยวกับการจัดการครับ)