Browsing: Operating System

เครื่องพีซี Windows 10 ที่ติดตั้งแบบดีฟอลท์ คือใช้ค่าที่ไมโครซอฟท์กำหนดให้และไม่ได้ทำการปรับแต่งการตั้งค่า Windows Update จะได้รับการอัพเกรดความสามารถ (Feature Update) แบบ Current Branch (CB) ซึ่งจะได้รับการอัพเกรดในทันที (ทางปฏิบัติอาจได้รับภายใน 1-2 สัปดาห์) ที่ไมโครซอฟท์ออกอย่างเป็นทางการ

ผมต้องการแอคติเวต Windows Server 2016 ผ่านทาง Key Management Service (KMS ) และเนื่องจากผมมีโฮสต์ KMS ที่ติดตั้งอยู่บน Windows Server 2012 R2 อยู่แล้ว จึงต้องการใช้งานโฮสต์ตัวเดิมหากเป็นไปได้ และหลังจากค้นหาบนอินเทอร์เน็ตพบว่าสามารถทำได้เพียงแต่ต้องมีการอัพเตดระบบก่อนดังรายละเอียดด้านล่างครับ

ข่าวดีสำหรับองค์กรที่ยังจัดการการอัพเดต Windows และซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ด้วย Windows Server Update Services 3.0 Service Pack 2 หรือ WSUS 3.0 SP2 เนื่องจากไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มการสนับสนุนที่ขยายเวลา (Extended Support) ออกไปถึงวันที่ 14 มกราคม 2020 (2563) จากเดิมที่จะหมดเวลาสนับสนุนเดือนกรกฎาคม 2017 (2560)

ไมโครซอฟท์ปรับ Windows 10 Version 1607 หรือ (Anniversary Update) เป็นรีลีส Current Branch for Business (CBB) แล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งการปรับระดับเป็น CBB นั้นหมายความว่า Windows 10 Version 1607 พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานในภาคธุรกิจแล้ว

ไม่แน่ใจว่าจะมีใครรู้สึกเหมือนผมหรือไม่ว่า ไมโครซอฟท์ได้ซ่อนการตั้งค่าไอคอนเดสก์ท็อปบน Windows 10 เอาไว้ลึกมาก โดยในการทำครั้งแรกนั้นผมเสียเวลาหาอยู่พักใหญ่ทีเดียวกว่าจะพบว่าต้องเข้าไปทำที่ไหน และสำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าทำอย่างไร อ่านได้จากรายละเอียดด้านล่างครับ

ปกติผมจะเปิดคอมมานด์พร้อมท์ (Command Prompt) ด้วยการกด Windows + X หรือคลิกขวา Start แล้วเลือก Command Prompt หรือบางครั้งใช้วิธีกด Windows + R จากนั้นพิมพ์ cmd ในช่อง Open เสร็จแล้วคลิก OK หรือกดปุ่ม Enter โดยไม่เคยทราบมาก่อนจริงๆ ว่ายังสามารถเปิดคอมมานด์พร้อมท์จาก File Explorer ได้เช่นกัน แต่เมื่อทราบแล้วจึงขอนำวิธีทำมาแบ่งปันเผื่อว่าใครยังไม่ทราบจะได้นำไปใช้งานกันต่อไปครับ

ไมโครซอฟท์พยายามอย่างมากเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้ Windows 10 ใช้แอป Settings แทน Control Panel ซึ่งเป็นอะไรที่คุ้นเคยของผู้ใช้ Windows มาเป็นเวลายาวนาน และกำลังจะผลักดันหนักหน่วงยิ่งขึ้นใน Windows 10 Creators Update การอัพเดตใหญ่ Windows 10 ตัวถัดไป (ครั้งที่ 3) ซึ่งจะออกเวอร์ชันเต็มประมาณช่วงต้นปี 2560 โดยการทำให้ใช้งาน Control Panel ได้ยากยิ่งขึ้น

[17 พฤศจิกายน 2559 – ตามเวลาสหรัฐอเมริกา] ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 14971 (Creators Update) เวอร์ชันพีซีให้กับ Insider ที่ตั้งค่าวงแหวนเป็น Fast เวอร์ชันนี้มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างด้วยกัน เช่น รวมแอป Paint 3D Preview เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Windows 10 อัพเดตแอป Get Office (Beta) เป็นเวอร์ชัน 2.0 แทนที่ Command Prompt (cmd.exe) ด้วย PowerShell และสามารถอ่านอีบุ๊ค EPUB ด้วย Microsoft Edge ได้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาการทำงานต่าง ๆ ที่พบในบิลด์ก่อนหน้า

ผมคิดว่าอาจมีผู้ใช้ Windows 10 Version 1607 (Anniversary Update) อีกหลายคนที่ยังไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้การทำงานแบบรีโมทเดสก์ท็อป (Remote Desktop) สะดวกมากขึ้น นั้นคือ การที่สามารถปิดเครื่อง (Shut down) หรือเริ่มต้นระบบ (Restart) จากเมนู Start ได้เหมือนการทำงานจากหน้าเครื่อง นั่นเอง

[8 พฤศจิกายน 2559 ตามเวลาสหรัฐอเมริกา] ไมโครซอฟท์ออกการปรับปรุง KB3200970 สำหรับ Windows 10 Version 1607 หรือที่รู้จักในชื่อ Anniversary Update เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและแก้ไขข้อบกพร่องการทำงาน โดยหลังทำการติดตั้งการปรับปรุง KB3200970 หมายเลขเวอร์ชันหลักไม่มีความเปลี่ยนแปลงแต่หมายเลขเวอร์ชันย่อยเปลี่ยนเป็น 447 (หมายเลขบิลด์เป็น 14393.447)