Browsing: Operating System

หลังจากทำการติดตั้ง Windows แล้วเสร็จและทำการตั้งค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไปจะต้องทำการเปิดใช้งาน (Activate) ซึ่งตามปกติแล้วสามารถทำผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือเซิร์ฟเวอร์ KMS สำหรับบทความนี้ผมจะแสดงวิธีการเปิดใช้งาน Windows Server 2012 Server Core ซึ่งเป็นเนื้อหาต่อเนื่องจากเรื่อง การตั้งค่า Windows Server 2012 R2 Server Core ครับ

ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำวิธี การติดตั้ง Windows Server 2012 R2 Server Core ซึ่งในการติดตั้งนั้นจะใช้ค่าที่กำหนดให้โดยปริยาย ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงเราจะต้องทำการปรับแต่งค่าต่างๆ เช่น ชื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Name) หมายเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) หรือ กลุ่มงาน (Workgroup) เป็นต้น ให้เป็นค่าที่เหมาะสมกับระบบที่ใช้งานจริง สำหรับการตั้งค่านั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการใช้ Server Configuration tool (Sconfig.cmd) ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบเมนูคำสั่งที่ไมโครซอฟท์จัดเตรียมไว้ให้ผู้ดูแลระบบใช้งานในการตั้งค่า Server Core เป็นการเฉพาะครับ

ประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2557 ที่ผ่านมาผมได้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเครื่องใหม่ถอดด้ามแทนเครื่องเก่า (OS: Windows 7) ที่ใช้งานอย่างไม่เคยเกเรมาตลอดเวลากว่า 3 ปี แต่เมื่อใช้เครื่องใหม่ได้ 2-3 วัน (เครื่องยังไม่ทันหมดกลิ่นใหม่ 555) เกิดงานเข้าเต็มๆ เมื่อเครื่องเริ่มมีอาการแปลกๆ คือ เครื่องค้าง/จอดำ ไปอย่างไม่มีปีมีขลุ่ย

บทความนี้เป็นรายละเอียดการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 แบบ Server Core Installation ครับ ซึ่ง Server Core นั้นเป็นโหมดที่ไม่มีระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) ดังนั้นการตั้งค่าและการจัดการ Server Core จะต้องใช้บรรทัดคำสั่ง, Windows PowerShell หรือการจัดการจากระยะไกลโดยใช้เครื่องมือ Microsoft Management Console (MMC), Server Manager หรือ Remote Server Administration Tools (RSAT) เป็นต้น (บทความนี่ยังไม่ลงลึกเกี่ยวกับการจัดการครับ)

สวัสดีครับ บทความนี้ผมมีขั้นตอนการติดตั้ง Windows Server 2012 R2 Server with a GUI ซึ่งเป็นโหมดการติดตั้งที่มีระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) อย่างเต็มรูปแบบที่มาพร้อมเครื่องมือสำหรับใช้ในการตั้งค่าและการจัดการแบบกราฟิกต่างๆ เช่น Server Manager เป็นต้น มาฝากครับ

หลังจากทำการอัพเกรด Windows  8 ไปเป็น Windows 8.1 บางคนอาจจะแปลกใจเมื่อเปิด File Explorer แล้วไม่พบไลบรารี่ (Libraries) ในบานหน้าต่างนำทาง (Navigation pane) โดยในตำแหน่งเดิมที่มันเคยอยู่นั้นถูกแทนที่ด้วย OneDrive ในขณะที่ไลบรารี่ต่างๆ ถูกย้ายเข้าไปอยู่ภายใต้ This PC ดังรูปที่ 1

การติดตั้ง Windows 8.1 Update สำหรับผู้ใช้ทั่วไปนั้นสามารถทำได้หลายดังรายละเอียดที่ผมเคยได้โพสต์ไปแล้วก่อนหน้านี้ (อ่านรายละเอียด) แต่สำหรับลูกค้าองค์กรที่ซื้อซอฟต์แวร์แบบ Volume License (VL) และมีไลเซนส์ Software Assurance (SA) ยังสามารถทำการติดตั้ง Windows 8.1 Update แบบ Clean Install* ซึ่งเป็นการติดตั้งใหม่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เปล่าได้ตามขั้นตอนด้านล่างครับ

วันนี้ผมมีโอกาสได้ทำการติดตั้ง Windows 8.1 แล้วเกิดข้อผิดพลาด “Windows cannot find the Microsoft Software License Terms.” (ดังรูปที่ 1) จึงนำประสบการณ์การแก้ไขปัญหามาบันทึกไว้บนบล็อกเพื่ออย่างน้อย 1. ไว้ช่วยเตือนความจำให้ตัวเองในอนาคต และ 2. เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาลักษณะเดียวกันนี้ ครับ

ถึงตอนนี้ คิดว่าผู้ใช้ Windows 8.1 ที่ได้ทำการติดตั้งอัพเดตประจำเดือนพฤษภาคมซึ่งไมโครซอฟท์ออกเมื่อวันที่ 14 ที่ผ่านมา คงได้ใช้งาน Windows Store แบบใหม่ที่มีลักษณะดังรูปที่ 1 กันเรียบร้อยแล้ว และคงจะสังเกตเห็นความแตกต่างจากแบบก่อน (รูปที่ 2) ได้อย่างชัดเจน

วันนี้ผมมีประสบการณ์ความยุ่งยาก (กว่าที่คิด) ในการเปลี่ยนตำแหน่งบนเครือข่าย (Network Location) บนเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 จาก Public network ไปเป็น Private network มาแบ่งปัน ที่บอกว่ายุ่งยากเพราะว่าบนเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2012 R2 ไม่มีเครื่องมือแบบกราฟิกสำหรับใช้เปลี่ยนตำแหน่งบนเครือข่ายเหมือนบน Windows 8/8.1 แต่จะต้องใช้ Group Policy Editor (GP Editor) หรือ Windows PowerShell ซึ่งวิธีการหลังนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายกว่าและเป็นวิธีที่ผมนำมาฝากในวันนี้ครับ